นายแพทย์ธนพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) กล่าวว่า จากข้อมูลใบมรณบัตรปี 2555-2557 พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ประมาณ 14,000 คน หรือประมาณ 38 คนต่อวัน โดยช่วงนอกเทศกาลจะมีคนเสียชีวิตประมาณ 2 คนต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่อายุน้อย แต่หากเป็นช่วงเทศกาลความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงขึ้นเป็น 2 เท่า โดยเฉพาะช่วง 2 วันแรกของการเดินทางไป-กลับ ทั้งนี้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขับรถเร็ว อ่อนล้าจากการเดินทาง เพราะต้องใช้เวลาในการขับรถนานกว่าปกติถึง 2 เท่า ทั้งนี้ แม้ว่าในแต่ละปีจะมีการตั้งจุดตรวจ จุดพักรถ แต่ประชาชนไม่นิยมเข้าไปใช้บริการ ส่วนใหญ่จะเข้าพักตามปั๊ม หรือเร่งรีบเดินทางต่อโดยไม่พัก
นายแพทย์ธนพงศ์ กล่าวต่อว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดบนถนนสายหลักมากที่สุด แต่ที่เสียชีวิตมากที่สุดพบว่าเป็นอุบัติเหตุบนถนนสายรอง ถนนในหมู่บ้าน และกว่าร้อยละ 60 เป็นรถจักรยานยนต์ ในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 50 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วยเสมอ ในบางคนตรวจพบระดับแอลกอฮอล์สูงถึง 224 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มากกว่าระดับปกติถึง 5 เท่า
ทั้งนี้ วันที่ 13-15 เมษายนนี้ ถือเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด เพราะปีนี้ตรงกับวันทำงาน ต้องเร่งรีบเดินทางในวันที่ 14 เมษายน หรือไม่ก็วันที่ 15 เมษายน เพื่อให้ทันทำงานในวันที่ 16 เมษายน ในขณะที่ร่างกายอ่อนล้าจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมาก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าระวัง รณรงค์ และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่ประจำจุดพักรถต่างๆ ควรออกมาทำกิจกรรมบ้าง ดีกว่าอยู่เฉยๆ เช่น ตั้งกรวยสะท้อนแสง เปิดไฟกระพริบเป็นระยะ เพื่อให้นักเดินทางตื่นตัวและชะลอความเร็วเป็นระยะๆ
นายแพทย์ธนพงศ์ กล่าวต่อว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดบนถนนสายหลักมากที่สุด แต่ที่เสียชีวิตมากที่สุดพบว่าเป็นอุบัติเหตุบนถนนสายรอง ถนนในหมู่บ้าน และกว่าร้อยละ 60 เป็นรถจักรยานยนต์ ในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 50 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วยเสมอ ในบางคนตรวจพบระดับแอลกอฮอล์สูงถึง 224 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มากกว่าระดับปกติถึง 5 เท่า
ทั้งนี้ วันที่ 13-15 เมษายนนี้ ถือเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด เพราะปีนี้ตรงกับวันทำงาน ต้องเร่งรีบเดินทางในวันที่ 14 เมษายน หรือไม่ก็วันที่ 15 เมษายน เพื่อให้ทันทำงานในวันที่ 16 เมษายน ในขณะที่ร่างกายอ่อนล้าจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จึงถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมาก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าระวัง รณรงค์ และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่ประจำจุดพักรถต่างๆ ควรออกมาทำกิจกรรมบ้าง ดีกว่าอยู่เฉยๆ เช่น ตั้งกรวยสะท้อนแสง เปิดไฟกระพริบเป็นระยะ เพื่อให้นักเดินทางตื่นตัวและชะลอความเร็วเป็นระยะๆ