นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กล่าวว่า เอสเอ็มอีแบงก์ได้สนับสนุนผู้ประกอบการในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าแบบออนไลน์ ด้วยการช่วยเป็นที่ปรึกษาจัดทำเว็บไซต์ร้านออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า เนื่องจากที่ผ่านมามีเว็บไซต์เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ยังไม่เป็นระบบ ดังนั้น เมื่อเป็น 1 ใน 10 มาตรการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ทั้งเอสเอ็มอี ค้าส่ง ค้าปลีก เข้ามารวมอยู่ในศูนย์เดียวกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง และย้ำว่า การขายสินค้าผ่านออนไลน์ควรสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ทั้งคุณภาพสินค้าและระยะเวลาการส่งสินค้าต้องตรงเวลา และหากเอสเอ็มอีมีศักยภาพ จะผลักดันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
สำหรับมาตรการสนับสนุนเอสเอ็มอีผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ได้ข้อสรุปร่วมกับกระทรวงการคลังแล้ว โดยชดเชยดอกเบี้ยให้เอสเอ็มอีร้อยละ 3 จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อตั้งงบประมาณชดเชยดอกเบี้ย เพื่อลดภาระให้กับผู้ประกอบการ
ส่วนกรณีรัฐบาลมีนโยบายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียน เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลในการช่วยเหลือประชาชนในทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงนั้น ในส่วนของผู้ประกอบการควรจะบ่งบอกถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาลงทะเบียน เช่น เมื่อรวมกลุ่มเป็นชมรมสมาคมแล้วจะเริ่มมีแรงต่อรองกับรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆ หรือการร่วมเป็นเครือข่ายในการพัฒนาด้านต่างๆ ของผู้ประกอบการ
สำหรับมาตรการสนับสนุนเอสเอ็มอีผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ได้ข้อสรุปร่วมกับกระทรวงการคลังแล้ว โดยชดเชยดอกเบี้ยให้เอสเอ็มอีร้อยละ 3 จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อตั้งงบประมาณชดเชยดอกเบี้ย เพื่อลดภาระให้กับผู้ประกอบการ
ส่วนกรณีรัฐบาลมีนโยบายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียน เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลในการช่วยเหลือประชาชนในทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงนั้น ในส่วนของผู้ประกอบการควรจะบ่งบอกถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาลงทะเบียน เช่น เมื่อรวมกลุ่มเป็นชมรมสมาคมแล้วจะเริ่มมีแรงต่อรองกับรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆ หรือการร่วมเป็นเครือข่ายในการพัฒนาด้านต่างๆ ของผู้ประกอบการ