นายไตรภพ ขันตยาภรณ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบจราจร สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากที่ กทม. ได้จัดทำโครงการจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 ในสมัยของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การเรียกใช้บริการรถแท็กซี่ของประชาชนเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย ลดปัญหาการจราจรเนื่องจากจอดรถแช่บนถนนเพื่อรอรับผู้โดยสารของแท็กซี่ ซึ่งโครงการดังกล่าว กทม.ได้ให้เอกชนลงทุน และให้ผลตอบแทนในการติดป้ายโฆษณาได้จุดละ 1 ป้าย โดยระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ได้ดำเนินโครงการมานั้น ต้องถือว่าจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เพราะมีปัญหาตั้งแต่ช่วงแรกที่เปิดให้บริการ ซึ่งเมื่อกดเรียกแท็กซี่จะมีสัญญาณไฟ และมีเสียงดัง หรือมีรถแท็กซี่อื่นแวะมารับผู้โดยสารก่อน โดยผู้กดเรียกไม่ได้รอขึ้นรถแท็กซี่ที่เรียกจากศูนย์ฯ ตามระบบดังกล่าว และแม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงในระยะต่อมา ไม่มีประชาชนเรียกใช้บริการ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้รถแท็กซี่จอดในจุดจอด ทำให้รถแท็กซี่จอดรับผู้โดยสารตามถนนทั่วไปไม่เป็นระเบียบเช่นเดิม อีกทั้งประชาชนเองก็สามารถเรียกแท็กซี่จุดใดก็ได้
นายไตรภพ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเมื่อโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดสัญญากับเอกชนในสิ้นเดือนมีนาคม 2558 นี้ ตามระยะเวลาสัญญา 9 ปี กทม. จึงจะดำเนินการพัฒนาจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะที่มีอยู่กว่า 150 จุด ทั่วเขตพื้นที่ชั้นใน อาทิ เขตพระนคร ราชเทวี ปทุมวัน บางรัก สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย ดุสิต เบื้องต้น จะยังไม่รื้อถอนจุดจอดดังกล่าว แต่จะเข้าดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้มีความปลอดภัยแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ยังใช้เป็นจุดเรียกรถโดยสารอยู่ในขณะนี้ และ กทม.ยังมีโครงการจะพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มากขึ้น อาทิ
1.ดำเนินการเป็นจุดจอดรถจักรยานในบางพื้นที่ 2.ปรับปรุงเป็นจุดเรียกรถแท็กซี่ และแสดงข้อมูลการเดินทางโดยแท็กซี่สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งประชาชนสามารถใส่สถานที่จุดหมายปลายทางไปยังระบบที่กทม.จะติดตั้ง โดยระบบก็จะแสดงถึงสภาพจราจรในขณะนั้นๆ และประเมินถึงระยะเวลาการเดินทาง และค่าโดยสารประมาณการของรถแท็กซี่ เพื่อให้ประชาชนวางแผนการเดินทางได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง รูปแบบการปรับปรุงในระยะยาวอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหาร กทม. ในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
นายไตรภพ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเมื่อโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดสัญญากับเอกชนในสิ้นเดือนมีนาคม 2558 นี้ ตามระยะเวลาสัญญา 9 ปี กทม. จึงจะดำเนินการพัฒนาจุดจอดรถแท็กซี่อัจฉริยะที่มีอยู่กว่า 150 จุด ทั่วเขตพื้นที่ชั้นใน อาทิ เขตพระนคร ราชเทวี ปทุมวัน บางรัก สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย ดุสิต เบื้องต้น จะยังไม่รื้อถอนจุดจอดดังกล่าว แต่จะเข้าดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้มีความปลอดภัยแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ยังใช้เป็นจุดเรียกรถโดยสารอยู่ในขณะนี้ และ กทม.ยังมีโครงการจะพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้มากขึ้น อาทิ
1.ดำเนินการเป็นจุดจอดรถจักรยานในบางพื้นที่ 2.ปรับปรุงเป็นจุดเรียกรถแท็กซี่ และแสดงข้อมูลการเดินทางโดยแท็กซี่สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งประชาชนสามารถใส่สถานที่จุดหมายปลายทางไปยังระบบที่กทม.จะติดตั้ง โดยระบบก็จะแสดงถึงสภาพจราจรในขณะนั้นๆ และประเมินถึงระยะเวลาการเดินทาง และค่าโดยสารประมาณการของรถแท็กซี่ เพื่อให้ประชาชนวางแผนการเดินทางได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง รูปแบบการปรับปรุงในระยะยาวอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหาร กทม. ในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป