เมื่อวันที่ 25 มีนาคม นายภัทระ คําพิทักษ์ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ถึงการทําหน้าที่สื่อมวลชนว่า มีสื่อที่นําเสนอข้อมูลไปสู่ความแตกแยกและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะใช้อํานาจที่มีอยู่ดําเนินการกับสื่อ โดยเบื้องต้นได้ขอให้องค์กรสื่อได้ไปตรวจสอบกันเองนั้น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ยินดีที่นายกรัฐมนตรีจะใช้กระบวนการตรวจสอบกันเองของสื่อ ซึ่งเป็นไปตามคําแถลงของ คสช.
นายภัทระ เผยอีกว่า แม้ว่าทางคสช.จะสนับสนุนกระบวนการตรวจสอบกันเองของสื่อ อย่างไรก็ตามก็มีสื่อหลายสํานัก ไม่ใช่สมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงไม่อาจไปแนะนําได้ทุกสื่อ หากหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดเห็นว่าสื่อที่เป็นสมาชิกของเราทําเกินกรอบของการทําหน้าที่สื่อทีดี ก็สามารถแจ้งมาได้ตลอดเวลา สภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีคณะทํางานรับผิดชอบในการควบคุมจริยธรรมของสื่ออยู่แล้ว แม้นายกฯ จะมีข้อข้องใจในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็ขอให้ท่านระบุเป็นประเด็น และเป็นรายไป
นายภัทระ กล่าวว่า แม้นายกฯ และคสช.จะเข้าใจและสนับสนุนกระบวนการควบคุมกันเองของสื่อ แต่หวังว่า นายกฯ และ คสช.จะเข้าใจวิธีการปฏิบัติตามช่องทางเหล่านั้นด้วย การให้สัมภาษณ์ในลักษณะการใช้เชิงอํานาจ ไม่ได้เป็นผลดีต่อนายกฯ และคสช.แต่อย่างใด
นายภัทระ เผยอีกว่า แม้ว่าทางคสช.จะสนับสนุนกระบวนการตรวจสอบกันเองของสื่อ อย่างไรก็ตามก็มีสื่อหลายสํานัก ไม่ใช่สมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงไม่อาจไปแนะนําได้ทุกสื่อ หากหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดเห็นว่าสื่อที่เป็นสมาชิกของเราทําเกินกรอบของการทําหน้าที่สื่อทีดี ก็สามารถแจ้งมาได้ตลอดเวลา สภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีคณะทํางานรับผิดชอบในการควบคุมจริยธรรมของสื่ออยู่แล้ว แม้นายกฯ จะมีข้อข้องใจในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ก็ขอให้ท่านระบุเป็นประเด็น และเป็นรายไป
นายภัทระ กล่าวว่า แม้นายกฯ และคสช.จะเข้าใจและสนับสนุนกระบวนการควบคุมกันเองของสื่อ แต่หวังว่า นายกฯ และ คสช.จะเข้าใจวิธีการปฏิบัติตามช่องทางเหล่านั้นด้วย การให้สัมภาษณ์ในลักษณะการใช้เชิงอํานาจ ไม่ได้เป็นผลดีต่อนายกฯ และคสช.แต่อย่างใด