หากลี กวนยู คือวันวานของสิงคโปร์ การจากไปของรัฐบุรุษผู้นี้ย่อมนำมาซึ่งคำถามที่ว่า ผู้นำรุ่นต่อไปจะแปลงโฉมแม่พิมพ์ที่หล่อหลอมให้ประเทศแห่งนี้แปรสภาพจากรัฐเกาะเล็กๆ กลายเป็นดินแดนแห่งความมั่งคั่งหรือไม่
แม้ลีวางมือจากตำแหน่งผู้นำประเทศมานานปี แต่บุตรชายของเขาคือ นายกรัฐมนตรีลี เซียงลุง ยังคงเป็นผู้สืบทอดโมเดลซึ่งยึดมั่นเรื่องตลาดเสรีที่อิงกับประสิทธิภาพ อัตราภาษีต่ำ การปราบปรามคอร์รัปชั่นอย่างเข้มงวด และการต่อต้านระบอบรัฐสวัสดิการ
เช่นเดียวกับผู้เป็นพ่อ นายกฯ ลียังคงปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และใช้กฎหมายการหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากผู้วิจารณ์และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม นายกฯ ลีประกาศว่า จะส่งมอบไม้ต่อให้แก่ทายาททางการเมืองคนต่อไปในปี 2020 และการคาดเดาเกี่ยวกับทายาทผู้นี้จะเป็นใคร ก็แพร่สะพัดมากขึ้นนับจากที่เขาเข้ารับการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเมื่อประกอบกับการที่ความนิยมในพรรคพีเพิลส์ แอ็กชัน ปาร์ตี้ (พีเอพี) ที่ผูกขาดอำนาจในสิงคโปร์มาโดยตลอด ได้เริ่มเสื่อมถอยลง จึงนำมาซึ่งความไม่แน่นอน อันเป็นสิ่งที่คนสิงคโปร์ไม่คุ้นเคยนัก
เป็นที่รับทราบกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูตลอดหลายปีที่ผ่านมา ยังได้นำมาซึ่งความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ ความไม่พอใจเกี่ยวกับนโยบายคนเข้าเมือง และรถไฟที่แออัดยัดเยียด รวมถึงค่าครองชีพสูงลิบ เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่กลายเป็นหมัดกระหน่ำใส่พีเอพีในการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว จนผลปรากฏว่า พรรครัฐบาลได้คะแนนเสียงจากผู้ลงคะแนนเพียง 60% จากที่เคยได้อย่างน้อย 67%
นับจากนั้น พีเอพีถูกเรียกร้องให้ละทิ้งนโยบายที่สมาชิกอาวุโสคนหนึ่งในพรรคระบุว่าเป็น “การเติบโตที่เอาทุกสิ่งทุกอย่างมาแลก”
อินเดอร์จิต ซิงห์ สมาชิกรัฐสภาผู้นี้ที่ทำหน้าที่มาเกือบ 20 ปี ยังบอกอีกว่า คนรุ่นใหม่บางส่วนเริ่มไม่แน่ใจในอนาคตของตัวเอง เมื่อเห็นว่า ราคาบ้านและรถยนต์พุ่งสูงเกินเอื้อม และเสริมว่า พีเอพีต้องจัดการกับปัญหาเหล่านี้และความท้าทายอื่นๆ ก่อนที่คะแนนนิยมจะทรุดลงไปอีก
มานู พาสการัน หุ้นส่วนของบริษัทวิจัยและที่ปรึกษา เซนเทนเนียล เอเชีย แอดไวเซอร์ส ขานรับว่า การเลือกตั้งในปี 2011 บีบให้พรรครัฐบาลต้องหันมาเอาจริงเอาจังกับการวางนโยบายมากขึ้น และหากผู้นำรุ่นต่อไปไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงใหม่ๆ ได้ก็อาจทำให้พรรครัฐบาลสูญเสียอำนาจในที่สุด
แม้ลีวางมือจากตำแหน่งผู้นำประเทศมานานปี แต่บุตรชายของเขาคือ นายกรัฐมนตรีลี เซียงลุง ยังคงเป็นผู้สืบทอดโมเดลซึ่งยึดมั่นเรื่องตลาดเสรีที่อิงกับประสิทธิภาพ อัตราภาษีต่ำ การปราบปรามคอร์รัปชั่นอย่างเข้มงวด และการต่อต้านระบอบรัฐสวัสดิการ
เช่นเดียวกับผู้เป็นพ่อ นายกฯ ลียังคงปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และใช้กฎหมายการหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากผู้วิจารณ์และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม นายกฯ ลีประกาศว่า จะส่งมอบไม้ต่อให้แก่ทายาททางการเมืองคนต่อไปในปี 2020 และการคาดเดาเกี่ยวกับทายาทผู้นี้จะเป็นใคร ก็แพร่สะพัดมากขึ้นนับจากที่เขาเข้ารับการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเมื่อประกอบกับการที่ความนิยมในพรรคพีเพิลส์ แอ็กชัน ปาร์ตี้ (พีเอพี) ที่ผูกขาดอำนาจในสิงคโปร์มาโดยตลอด ได้เริ่มเสื่อมถอยลง จึงนำมาซึ่งความไม่แน่นอน อันเป็นสิ่งที่คนสิงคโปร์ไม่คุ้นเคยนัก
เป็นที่รับทราบกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูตลอดหลายปีที่ผ่านมา ยังได้นำมาซึ่งความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ ความไม่พอใจเกี่ยวกับนโยบายคนเข้าเมือง และรถไฟที่แออัดยัดเยียด รวมถึงค่าครองชีพสูงลิบ เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่กลายเป็นหมัดกระหน่ำใส่พีเอพีในการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว จนผลปรากฏว่า พรรครัฐบาลได้คะแนนเสียงจากผู้ลงคะแนนเพียง 60% จากที่เคยได้อย่างน้อย 67%
นับจากนั้น พีเอพีถูกเรียกร้องให้ละทิ้งนโยบายที่สมาชิกอาวุโสคนหนึ่งในพรรคระบุว่าเป็น “การเติบโตที่เอาทุกสิ่งทุกอย่างมาแลก”
อินเดอร์จิต ซิงห์ สมาชิกรัฐสภาผู้นี้ที่ทำหน้าที่มาเกือบ 20 ปี ยังบอกอีกว่า คนรุ่นใหม่บางส่วนเริ่มไม่แน่ใจในอนาคตของตัวเอง เมื่อเห็นว่า ราคาบ้านและรถยนต์พุ่งสูงเกินเอื้อม และเสริมว่า พีเอพีต้องจัดการกับปัญหาเหล่านี้และความท้าทายอื่นๆ ก่อนที่คะแนนนิยมจะทรุดลงไปอีก
มานู พาสการัน หุ้นส่วนของบริษัทวิจัยและที่ปรึกษา เซนเทนเนียล เอเชีย แอดไวเซอร์ส ขานรับว่า การเลือกตั้งในปี 2011 บีบให้พรรครัฐบาลต้องหันมาเอาจริงเอาจังกับการวางนโยบายมากขึ้น และหากผู้นำรุ่นต่อไปไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงใหม่ๆ ได้ก็อาจทำให้พรรครัฐบาลสูญเสียอำนาจในที่สุด