การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งที่ 19/2558 โดยมี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม มีระเบียบวาระการประชุมรับทราบและพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข เกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพ ระบบส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรค และภัยคุกคามสุขภาพ ระบบบริการจัดการด้านสุขภาพ และระบบการเงินด้านสุขภาพ โดย พ.ญ.พรพันธุ์ บุณยรัตนพันธุ์ ประธาน กมธ.ฯ รายงานว่า แม้ประเทศไทยจะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการและใช้บริการได้มากขึ้น แต่การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ และระบบสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งครอบคลุมนั้น เป็นเรื่องสำคัญ โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ทั้งการแก้ปัญหาสุขภาพ การพัฒนาบริหาร และการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ โดยเน้นกระจายอำนาจเพื่อให้ท้องถิ่นและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งการบริหารจัดการโรงพยาบาลของรัฐขณะนี้ยังมีปัญหา และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน ในเรื่องการประสานส่งต่อผู้ป่วย สถานพยาบาลในชนบทยังประสบปัญหาเรื้อรังจากการขาดแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุข รวมถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุนประกันสุขภาพ
นางพรพันธุ์ กล่าวอีกว่า การปฏิรูปการเงินด้านสุขภาพ มีการปรับการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และการเงินการคลังด้านสุขภาพ ของกองทุนสุขภาพต่างๆโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายให้มากขึ้น จัดตั้งศูนย์ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระดับชาติ และพัฒนากลไกกลางของระบบข้อมูลข่าวสาร การควบคุมค่าใช้จ่าย วางกลไกเพิ่มเงินเข้าสู่ระบบ อาทิ การลงทุนด้านเทคโนโลยี เช่น วัคซีน ยาแพทย์ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ควรมีนโยบายระดับชาติที่รัฐรวมพัฒนา รวมทั้งกระจายอำนาจทุนและทรัพยากรให้ชุมชนท้องถิ่นอย่าเพียงพอ โดยแนวทางปฏิรูปต่างๆจะเป็นกรอบที่ใช้บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเมื่อปฏิรูปไปแล้ว ประชาชนและประเทศไทยจะมีคุณภาพที่ดีนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข โดยสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ
นางพรพันธุ์ กล่าวอีกว่า การปฏิรูปการเงินด้านสุขภาพ มีการปรับการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และการเงินการคลังด้านสุขภาพ ของกองทุนสุขภาพต่างๆโดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายให้มากขึ้น จัดตั้งศูนย์ข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระดับชาติ และพัฒนากลไกกลางของระบบข้อมูลข่าวสาร การควบคุมค่าใช้จ่าย วางกลไกเพิ่มเงินเข้าสู่ระบบ อาทิ การลงทุนด้านเทคโนโลยี เช่น วัคซีน ยาแพทย์ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ควรมีนโยบายระดับชาติที่รัฐรวมพัฒนา รวมทั้งกระจายอำนาจทุนและทรัพยากรให้ชุมชนท้องถิ่นอย่าเพียงพอ โดยแนวทางปฏิรูปต่างๆจะเป็นกรอบที่ใช้บูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเมื่อปฏิรูปไปแล้ว ประชาชนและประเทศไทยจะมีคุณภาพที่ดีนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข โดยสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ