การถึงแก่อสัญกรรมของลี กวนยู กำลังนำมาซึ่งเสียงเรียกร้องให้สิงคโปร์ก้าวออกจากเงื้อมเงาของผู้ก่อตั้งประเทศซึ่งยึดถือลัทธิอำนาจนิยม และ “วัฒนธรรมความหวาดกลัว” ผู้นี้ แล้วหันมาส่งเสริมเสรีภาพที่จำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรม อย่างไรก็ตาม เหล่าผู้สังเกตการณ์เชื่อว่า คณะบริหารปัจจุบันจะขวางลำความพยายามเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม แม้ต้องรับมือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตแตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ อย่างสิ้นเชิง
ลีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันจันทร์ (23 มี.ค.) ด้วยวัย 91 ปี หลังจากเปลี่ยนเกาะอาณานิคมขนาดเล็กแห่งนี้ ให้กลายมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไฮเทคและการเงินของโลก พร้อมไปกับปกป้องระบบการปกครองแบบพรรคเดียว การปิดกั้นสื่อมวลชนและเสรีภาพทางการเมือง
กระนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความไม่พอใจและคัดค้านนโยบายของรัฐบาลก็แพร่หลายชัดเจนขึ้นอย่างมาก หลังจากชาวสิงคโปร์สามารถอาศัยอินเทอร์เน็ต ซึ่งปลอดจากการควบคุมอันเข้มงวดเฉกเช่นสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งหลาย มาเปิดช่องทางใหม่ๆ ในการระบายความในใจของพวกเขา
ถึงแม้ประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยนับแต่ลีต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ขณะเดียวกัน ผู้คนอีกจำนวนมากก็พากันโจมตีอดีตผู้นำผู้นี้ทางออนไลน์ เนื่องจากไม่พอใจเกี่ยวกับนโยบายคนเข้าเมือง ค่าครองชีพ และประเด็นร้อนอีกสารพัด
คนรุ่นใหม่ๆ ที่มีการศึกษาสูงขึ้นของสิงคโปร์ ต่างลุกขึ้นมาเรียกร้องการปฏิรูปมากขึ้น และนักวิเคราะห์บางส่วนหวังว่า การจากไปของลีจะกระตุ้นการอภิปรายวาระแห่งชาติว่าด้วยการผ่อนคลายกฎเหล็กของรัฐบาล
ลิม เจียเหลียง นักเคลื่อนไหวและนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์วัย 24 ปีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง บอกว่า คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยผูกพันกับลีมากนัก และแม้รู้สึกเสียใจกับการจากไปของอดีตผู้นำผู้นี้ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การค้นหาหนทางเพื่อให้พ้นจากมายาภาพทั้งหลายเกี่ยวกับลี กวนยู
ขณะที่ อเล็ก โอ นักเคลื่อนไหวและบล็อกเกอร์ชื่อดังมองการณ์ในแง่ร้ายมากกว่า โดยกล่าวว่า การจากไปของลีอาจส่งผลให้พรรคพีเพิลส์ แอ็กชัน ปาร์ตี้ (พีเอพี) ที่ขณะนี้มีนายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง บุตรชายคนโตของลี เป็นหัวหน้าพรรค รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยเนื่องจากไร้เสาหลัก จึงจำเป็นต้องคงนโยบายกำปั้นเหล็กไว้ต่อไป
ลีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันจันทร์ (23 มี.ค.) ด้วยวัย 91 ปี หลังจากเปลี่ยนเกาะอาณานิคมขนาดเล็กแห่งนี้ ให้กลายมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไฮเทคและการเงินของโลก พร้อมไปกับปกป้องระบบการปกครองแบบพรรคเดียว การปิดกั้นสื่อมวลชนและเสรีภาพทางการเมือง
กระนั้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความไม่พอใจและคัดค้านนโยบายของรัฐบาลก็แพร่หลายชัดเจนขึ้นอย่างมาก หลังจากชาวสิงคโปร์สามารถอาศัยอินเทอร์เน็ต ซึ่งปลอดจากการควบคุมอันเข้มงวดเฉกเช่นสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งหลาย มาเปิดช่องทางใหม่ๆ ในการระบายความในใจของพวกเขา
ถึงแม้ประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยนับแต่ลีต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ขณะเดียวกัน ผู้คนอีกจำนวนมากก็พากันโจมตีอดีตผู้นำผู้นี้ทางออนไลน์ เนื่องจากไม่พอใจเกี่ยวกับนโยบายคนเข้าเมือง ค่าครองชีพ และประเด็นร้อนอีกสารพัด
คนรุ่นใหม่ๆ ที่มีการศึกษาสูงขึ้นของสิงคโปร์ ต่างลุกขึ้นมาเรียกร้องการปฏิรูปมากขึ้น และนักวิเคราะห์บางส่วนหวังว่า การจากไปของลีจะกระตุ้นการอภิปรายวาระแห่งชาติว่าด้วยการผ่อนคลายกฎเหล็กของรัฐบาล
ลิม เจียเหลียง นักเคลื่อนไหวและนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์วัย 24 ปีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง บอกว่า คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยผูกพันกับลีมากนัก และแม้รู้สึกเสียใจกับการจากไปของอดีตผู้นำผู้นี้ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ การค้นหาหนทางเพื่อให้พ้นจากมายาภาพทั้งหลายเกี่ยวกับลี กวนยู
ขณะที่ อเล็ก โอ นักเคลื่อนไหวและบล็อกเกอร์ชื่อดังมองการณ์ในแง่ร้ายมากกว่า โดยกล่าวว่า การจากไปของลีอาจส่งผลให้พรรคพีเพิลส์ แอ็กชัน ปาร์ตี้ (พีเอพี) ที่ขณะนี้มีนายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง บุตรชายคนโตของลี เป็นหัวหน้าพรรค รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยเนื่องจากไร้เสาหลัก จึงจำเป็นต้องคงนโยบายกำปั้นเหล็กไว้ต่อไป