นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า "ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557-กุมภาพันธ์ 2558) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 816,083 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 12,217 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 0.9 โดยกรมสรรพากร และกรมศุลกากรจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 35,512 และ 1,678 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.7 และ 3.3 ขณะที่การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต และการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นสูงกว่าประมาณการ 12,813 4,972 และ 4,598 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.2 2.8 และ 6.2 ตามลำดับ
สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 16,981 14,770 และ 8,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.2 4.8 และ 20.3 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงกว่าเป้าหมาย 12,812 4,026 และ 2,018 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.9 15.7 และ 1.7 ตามลำดับ
นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 5 เดือนแรก ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคาน้ำมันจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคในประเทศ โดยพิจารณาจากรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้เร่งรัดให้หน่วยงานจัดเก็บเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ กระทรวงการคลังคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น
สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 16,981 14,770 และ 8,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.2 4.8 และ 20.3 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงกว่าเป้าหมาย 12,812 4,026 และ 2,018 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.9 15.7 และ 1.7 ตามลำดับ
นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 5 เดือนแรก ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคาน้ำมันจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคในประเทศ โดยพิจารณาจากรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคในประเทศยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้เร่งรัดให้หน่วยงานจัดเก็บเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ กระทรวงการคลังคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น