นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (23 มีนาคม 2558) เวลา 11.00 น. สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะร้องเรียนกล่าวโทษสมาชิก สปช.ที่แต่งตั้งเครือญาติของตนเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ทั้งหมด ต่อ ป.ป.ช.
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย พยายามเดินทางไปขอข้อมูลการแต่งตั้งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้ง 250 คน ต่อสำนักงานสภาผู้แทนราษฏร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่อาคารรัฐสภา แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งให้มารับเอกสารที่สำนักงานสภาผู้แทนฯบริเวณถนนปฏิพัทธ์แทน แต่เมื่อเดินทางไปถึงก็พบว่าห้องทำงานของกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักบริหารงานกลางปิดทั้งหมด ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานเลย
สมาคมฯเห็นเป็นพิรุธ เพราะเอกสารดังกล่าวไม่ใช่อยู่ในชั้นความลับ หรือเอกสารส่วนบุคคล ที่จะไม่สามารถเปิดเผยได้ ตามมาตรา 15 แห่ง พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540
ดังนั้น เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเลขาฯสภาผู้แทนฯ สมาคมจึงจำเป็นที่จะต้องนำความไปร้องเรียนกล่าวโทษสมาชิก สปช.ที่แต่งตั้งเครือญาติของตนเข้ามาดำรงตำแหน่งข้างต้นทั้งหมด ต่อ ป.ป.ช. แม้บางคนจะลาออกไปแล้วก็ถือว่า "เป็นความผิดสำเร็จ" ไปแล้ว ตาม พรบ.ประกอบ รธน.ว่าด้วย ป.ป.ช.2542 ประกอบฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉ.2 พ.ศ.2554 และประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2553 ซึ่งจากการตรวจสอบในทางลับพบว่ามีมากกว่า 50 คน
ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย พยายามเดินทางไปขอข้อมูลการแต่งตั้งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้ง 250 คน ต่อสำนักงานสภาผู้แทนราษฏร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่อาคารรัฐสภา แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งให้มารับเอกสารที่สำนักงานสภาผู้แทนฯบริเวณถนนปฏิพัทธ์แทน แต่เมื่อเดินทางไปถึงก็พบว่าห้องทำงานของกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักบริหารงานกลางปิดทั้งหมด ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงานเลย
สมาคมฯเห็นเป็นพิรุธ เพราะเอกสารดังกล่าวไม่ใช่อยู่ในชั้นความลับ หรือเอกสารส่วนบุคคล ที่จะไม่สามารถเปิดเผยได้ ตามมาตรา 15 แห่ง พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540
ดังนั้น เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเลขาฯสภาผู้แทนฯ สมาคมจึงจำเป็นที่จะต้องนำความไปร้องเรียนกล่าวโทษสมาชิก สปช.ที่แต่งตั้งเครือญาติของตนเข้ามาดำรงตำแหน่งข้างต้นทั้งหมด ต่อ ป.ป.ช. แม้บางคนจะลาออกไปแล้วก็ถือว่า "เป็นความผิดสำเร็จ" ไปแล้ว ตาม พรบ.ประกอบ รธน.ว่าด้วย ป.ป.ช.2542 ประกอบฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉ.2 พ.ศ.2554 และประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2553 ซึ่งจากการตรวจสอบในทางลับพบว่ามีมากกว่า 50 คน