นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่า กรรมาธิการฯ ให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพราะกรรมาธิการฯ มีความใกล้ชิดกับ สปช. ทั้งการมีองค์ประกอบของกรรมาธิการฯ ที่เป็น สปช.กว่า 20 คน ดังนั้น แม้กรรมาธิการฯ จะเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำ 5 สาย ก็ย่อมถือว่าความเห็นของ สปช.เป็นเรื่องสำคัญ
ทั้งนี้ ช่วงเวลาสำคัญในการตัดสินใจของกรรมาธิการฯ คือ 60 วันของการทำงาน ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 23 กรกฎาคม ที่คาดว่ากรรมาธิการฯ จะพิจารณาคำขอแก้ไขประมาณ 11-12 คำขอแก้ไขซึ่งยังไม่ได้นับว่าขอแก้ไขกี่มาตรา ขอย้ำว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอด การทำงานของกรรมาธิการฯ จะเป็นไปตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 คือต้องทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในวันที่ 6 สิงหาคม ส่วนการเสนอให้ทำประชามติไม่ได้อยู่ในอำนาจของกรรมาธิการฯ ประชามติจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ โดยคณะรัฐมนตรีต้องเสนอแก้ไขมาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีเวลาที่สามารถทำได้
ทั้งนี้ ช่วงเวลาสำคัญในการตัดสินใจของกรรมาธิการฯ คือ 60 วันของการทำงาน ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 23 กรกฎาคม ที่คาดว่ากรรมาธิการฯ จะพิจารณาคำขอแก้ไขประมาณ 11-12 คำขอแก้ไขซึ่งยังไม่ได้นับว่าขอแก้ไขกี่มาตรา ขอย้ำว่าร่างรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอด การทำงานของกรรมาธิการฯ จะเป็นไปตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 คือต้องทำร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในวันที่ 6 สิงหาคม ส่วนการเสนอให้ทำประชามติไม่ได้อยู่ในอำนาจของกรรมาธิการฯ ประชามติจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ โดยคณะรัฐมนตรีต้องเสนอแก้ไขมาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีเวลาที่สามารถทำได้