พล.ต.ต.ปรีชา เจริญสหายานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 กล่าวถึงกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลกันในสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลาย โดยได้กล่าวหาว่า "ตร.เมืองนนท์ ! ได้ค่าปรับจาก red light หรือ Camera ตามทางแยก ทางข้าม บนถนน ปีละ 800 กว่าล้าน"
พล.ต.ต.ปรีชา กล่าวอีกว่า ตนได้ตรวจสอบแล้ว ปรากฏเป็นข้อมูลเท็จ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นคือ ยอดเงินค่าปรับรวมทุกข้อหาเดือนละกว่า 2-3 ล้านบาทเท่านั้น และมีโครงการจับเพราะรัก เลือกอบรมวินัยจราจรแทนชำระค่าปรับ ซึ่งจัดมาได้ 6 ครั้งแล้ว มีผู้เข้าร่วมอบรมเกือบ 2,000 ราย โดยผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าปรับ และผลการอบรม ประชาชนเข้าใจการทำงานของตำรวจจราจรมากขึ้น โดยทำเป็นโครงการมานานแล้ว
ทั้งนี้ กล้องได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน มีหลักฐานถูกต้อง ค่าไฟฟ้าก็มี หม้อมิเตอร์เสียเงินถูกต้อง และปีที่แล้วสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมาตรวจไม่พบปัญหาทุจริต หรือผิดกฎหมายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม สำหรับสาเหตุของการจุดประเด็นแชร์ข้อมูลดังกล่าวในสังคมออนไลน์นั้น น่าจะเกิดจากผู้ที่ไม่พอใจในการกวดขันวินัยจราจรตามนโยบายผู้บังคับบัญชา และผู้มีอคติต่อการปฏิบัติงานของตำรวจจราจร ซึ่งมักนำข้อมูลที่บิดเบือนข้อเท็จจริงไปเผยแพร่ตามสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ได้นำไปสู่การเสนอแก้กฎหมายจราจรเรื่องใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
พล.ต.ต.ปรีชา กล่าวอีกว่า ตนได้ตรวจสอบแล้ว ปรากฏเป็นข้อมูลเท็จ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นคือ ยอดเงินค่าปรับรวมทุกข้อหาเดือนละกว่า 2-3 ล้านบาทเท่านั้น และมีโครงการจับเพราะรัก เลือกอบรมวินัยจราจรแทนชำระค่าปรับ ซึ่งจัดมาได้ 6 ครั้งแล้ว มีผู้เข้าร่วมอบรมเกือบ 2,000 ราย โดยผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าปรับ และผลการอบรม ประชาชนเข้าใจการทำงานของตำรวจจราจรมากขึ้น โดยทำเป็นโครงการมานานแล้ว
ทั้งนี้ กล้องได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน มีหลักฐานถูกต้อง ค่าไฟฟ้าก็มี หม้อมิเตอร์เสียเงินถูกต้อง และปีที่แล้วสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมาตรวจไม่พบปัญหาทุจริต หรือผิดกฎหมายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม สำหรับสาเหตุของการจุดประเด็นแชร์ข้อมูลดังกล่าวในสังคมออนไลน์นั้น น่าจะเกิดจากผู้ที่ไม่พอใจในการกวดขันวินัยจราจรตามนโยบายผู้บังคับบัญชา และผู้มีอคติต่อการปฏิบัติงานของตำรวจจราจร ซึ่งมักนำข้อมูลที่บิดเบือนข้อเท็จจริงไปเผยแพร่ตามสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ได้นำไปสู่การเสนอแก้กฎหมายจราจรเรื่องใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว