นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธานในพิธีเปิดสถานีนาพู่ จังหวัดอุดรธานี เพื่อใช้ในการจัดหลักขบวนรถ และรองรับการขนส่งด้านเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับการเปิดใช้สถานีนาพู่ เป็นหนึ่งในโครงการปรับปรุงทางรถไฟระยะที่ 6 จากชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย ระยะทาง 278 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างสถานีอุดรธานี-สถานีนาทา มีระยะห่าง 49 กิโลเมตร มีที่หยุดรถ 3 จุด แต่ไม่มีสถานีในการจัดหลีกขบวนรถ ร.ฟ.ท. จึงได้ผนวกที่หยุดรถทั้ง 3 จุด จัดตั้งเป็นสถานีขึ้นใหม่อีก 1 สถานี เป็นสถานีนาพู่ โดยเป็นจุดศูนย์กลางระหว่างสถานีอุดรธานี กับสถานีนาทา เพื่อใช้ในการจัดหลีกขบวนรถและลดความล่าช้าของขบวนรถ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ได้ใช้รถไฟเป็นพาหนะในการเดินทาง และรองรับการขนส่งด้านเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีขบวนรถโดยสารเดินรถระหว่างสถานีกรุงเทพฯ กับสถานีหนองคาย ผ่านวันละ 6 ขบวน ประกอบด้วย ขบวนรถด่วนพิเศษ ที่ 69 และ 70 ขบวนรถด่วนดีเซลราง ขบวนที่ 76 และ 77 ขบวนรถเร็ว ขบวนที่ 133 และ 134 และมีขบวนรถดีเซลรางท้องถิ่น ขบวนที่ 415 และ 418 เดินรถระหว่างสถานีนครราชสีมากับสถานีหนองคาย โดยหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีนาพู่ ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ รวม 4 ขบวนเป็นประจำทุกวัน คือ ขบวน 133 กรุงเทพฯ-หนองคาย เวลา 09.06 น. ขบวน 134 หนองคาย-กรุงเทพฯ เวลา 19.40 น. ขบวนรถ415 นครราชสีมา-หนองคาย เวลา 12.01 น. และขบวน 418 หนองคาย-นครราชสีมา เวลา 13.26 น.
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีโครงข่ายเส้นทางรถไฟกระจายตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ 4,043 กิโลเมตร ครอบคลุม 47 จังหวัด
สำหรับการเปิดใช้สถานีนาพู่ เป็นหนึ่งในโครงการปรับปรุงทางรถไฟระยะที่ 6 จากชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย ระยะทาง 278 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างสถานีอุดรธานี-สถานีนาทา มีระยะห่าง 49 กิโลเมตร มีที่หยุดรถ 3 จุด แต่ไม่มีสถานีในการจัดหลีกขบวนรถ ร.ฟ.ท. จึงได้ผนวกที่หยุดรถทั้ง 3 จุด จัดตั้งเป็นสถานีขึ้นใหม่อีก 1 สถานี เป็นสถานีนาพู่ โดยเป็นจุดศูนย์กลางระหว่างสถานีอุดรธานี กับสถานีนาทา เพื่อใช้ในการจัดหลีกขบวนรถและลดความล่าช้าของขบวนรถ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ได้ใช้รถไฟเป็นพาหนะในการเดินทาง และรองรับการขนส่งด้านเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีขบวนรถโดยสารเดินรถระหว่างสถานีกรุงเทพฯ กับสถานีหนองคาย ผ่านวันละ 6 ขบวน ประกอบด้วย ขบวนรถด่วนพิเศษ ที่ 69 และ 70 ขบวนรถด่วนดีเซลราง ขบวนที่ 76 และ 77 ขบวนรถเร็ว ขบวนที่ 133 และ 134 และมีขบวนรถดีเซลรางท้องถิ่น ขบวนที่ 415 และ 418 เดินรถระหว่างสถานีนครราชสีมากับสถานีหนองคาย โดยหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีนาพู่ ทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ รวม 4 ขบวนเป็นประจำทุกวัน คือ ขบวน 133 กรุงเทพฯ-หนองคาย เวลา 09.06 น. ขบวน 134 หนองคาย-กรุงเทพฯ เวลา 19.40 น. ขบวนรถ415 นครราชสีมา-หนองคาย เวลา 12.01 น. และขบวน 418 หนองคาย-นครราชสีมา เวลา 13.26 น.
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีโครงข่ายเส้นทางรถไฟกระจายตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ 4,043 กิโลเมตร ครอบคลุม 47 จังหวัด