นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานแถลงข่าวการดำเนินงานหน่วยงานภายในความดูแลกระทรวงยุติธรรม เรื่องการตรวจสอบคดีทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร กับพวก ฐานยักยอกและกระทำความผิดตามกฏหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้รับเรื่องเป็นคดีพิเศษ ซึ่งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้มีคำสั่งยกเลิกคณะพนักงานสอบสวนชุดเดิม และได้แต่งตั้งชุดสอบสวนใหม่โดยมีอธิบดี ดีเอสไอ เป็นหัวหน้า โดยให้แต่ละหน่วยงานมาประสานให้ข้อมูลกันตลอด โดยจะมีการประชุมทุกวัน
ล่าสุด ขณะนี้ให้เจ้าพนักงานรวบรวมพยานหลักฐานชี้ชัดถึงเจตนาของผู้รับเงิน หากชี้ชัดว่าไม่มีเจตนาก็ถือว่าไม่ผิด ซึ่งคดีความผิดฉ้อโกง ตามกฎหมายสามารถยอมความกันได้ โดยขณะนี้กำลังเร่งเตรียมสอบปากคำกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในเรื่องอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ และมติของสหกรณ์ และอีกส่วนเป็นส่วนของการติดตามทรัพย์สินที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีการประชุมคืบหน้าอีกครั้งในวันศุกร์นี้ (20 มี.ค.) เวลา 10.00 น.
ขณะเดียวกัน วันที่ 20 มีนาคมนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยจะมีการนัดทั้งฝ่ายสหกรณ์ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ มาฟังคำสั่งศาล ซึ่งในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู ได้มอบหมายให้กรมบังคับคดีเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งทางกรมบังคับคดี ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ด้านบัญชีดูแผนของสหกรณ์ที่ผู้ทำแผนได้เสนอมาภายใน 30 วัน นับแต่มีคำสั่งศาล แต่ถ้าหากไม่ได้ตั้งผู้ทำแผน กรมบังคับคดีจะนัดประชุมเจ้าหนี้ และสหกรณ์มาร่วมให้ความเห็นให้เป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ที่ถูกฉ้อโกงจะมีความชัดเจนในการได้เงินคืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแผนที่ตั้งมา ฉะนั้นจึงต้องคำสั่งจากศาลที่ชัดเจนอีกครั้ง
ล่าสุด ขณะนี้ให้เจ้าพนักงานรวบรวมพยานหลักฐานชี้ชัดถึงเจตนาของผู้รับเงิน หากชี้ชัดว่าไม่มีเจตนาก็ถือว่าไม่ผิด ซึ่งคดีความผิดฉ้อโกง ตามกฎหมายสามารถยอมความกันได้ โดยขณะนี้กำลังเร่งเตรียมสอบปากคำกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในเรื่องอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ และมติของสหกรณ์ และอีกส่วนเป็นส่วนของการติดตามทรัพย์สินที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีการประชุมคืบหน้าอีกครั้งในวันศุกร์นี้ (20 มี.ค.) เวลา 10.00 น.
ขณะเดียวกัน วันที่ 20 มีนาคมนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยจะมีการนัดทั้งฝ่ายสหกรณ์ เจ้าหนี้ และลูกหนี้ มาฟังคำสั่งศาล ซึ่งในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู ได้มอบหมายให้กรมบังคับคดีเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งทางกรมบังคับคดี ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ด้านบัญชีดูแผนของสหกรณ์ที่ผู้ทำแผนได้เสนอมาภายใน 30 วัน นับแต่มีคำสั่งศาล แต่ถ้าหากไม่ได้ตั้งผู้ทำแผน กรมบังคับคดีจะนัดประชุมเจ้าหนี้ และสหกรณ์มาร่วมให้ความเห็นให้เป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ที่ถูกฉ้อโกงจะมีความชัดเจนในการได้เงินคืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแผนที่ตั้งมา ฉะนั้นจึงต้องคำสั่งจากศาลที่ชัดเจนอีกครั้ง