พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือกับนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 3 (the Third United Nations World Conference on Disaster Risk Reduction -3WCDPR) ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น
ภายหลังการหารือ ร.อ. น.พ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวชื่นชมในบทบาทของญี่ปุ่น และยกย่อง ว่าสามารถฟื้นฟูหลังเหตุสึนามิ เมื่อปี 2554 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่ไทยก็ประสบกับสึนามิเมื่อปี 2547 และอุทกภัยเมื่อปี 2554 ก็ถือเป็นบทเรียนสำคัญ ที่ประเทศต่างๆ ควรต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อลดความสูญเสีย
นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นยังได้หารือถึงความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือระบบราง ที่ต่างเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันตามบันทึกเจตนารมณ์ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม ซึ่งกระทรวงคมนาคมไทยอยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานระดับรัฐมนตรี ที่น่าจะมีการประชุมได้ในเร็วนี้ ส่วนความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำ ไทยพร้อมร่วมมือกับญี่ปุ่น โดยขณะนี้รัฐบาลได้ทบทวนโครงการบริหารจัดการน้ำใหม่ทั้งหมด และกำลังจะเปิดประมูล ซึ่งยินดีหากญี่ปุ่นสนใจส่งคณะมาพูดคุยสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย ญี่ปุ่นสนใจและเสนอให้มีการหารือระหว่างผู้นำ 3 ฝ่ายคือ ไทย ญี่ปุ่น และพม่า ในระหว่างการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคมนี้
พล.อ.ประยุทธ ยังได้หารือกับผู้นำญี่ปุ่น ถึงการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยขอให้ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสุกรแปรรูป และผลไม้ โดยเฉพาะตลาดมะม่วง อีก 2 สายพันธุ์ คือเขียวเสวย และโชคอนันต์ ที่ญี่ปุ่นได้บรรจุไว้ในรายการที่ต้องประเมินความเสี่ยง
ภายหลังการหารือ ร.อ. น.พ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวชื่นชมในบทบาทของญี่ปุ่น และยกย่อง ว่าสามารถฟื้นฟูหลังเหตุสึนามิ เมื่อปี 2554 ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่ไทยก็ประสบกับสึนามิเมื่อปี 2547 และอุทกภัยเมื่อปี 2554 ก็ถือเป็นบทเรียนสำคัญ ที่ประเทศต่างๆ ควรต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อลดความสูญเสีย
นายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นยังได้หารือถึงความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือระบบราง ที่ต่างเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันตามบันทึกเจตนารมณ์ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม ซึ่งกระทรวงคมนาคมไทยอยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานระดับรัฐมนตรี ที่น่าจะมีการประชุมได้ในเร็วนี้ ส่วนความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำ ไทยพร้อมร่วมมือกับญี่ปุ่น โดยขณะนี้รัฐบาลได้ทบทวนโครงการบริหารจัดการน้ำใหม่ทั้งหมด และกำลังจะเปิดประมูล ซึ่งยินดีหากญี่ปุ่นสนใจส่งคณะมาพูดคุยสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย ญี่ปุ่นสนใจและเสนอให้มีการหารือระหว่างผู้นำ 3 ฝ่ายคือ ไทย ญี่ปุ่น และพม่า ในระหว่างการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคมนี้
พล.อ.ประยุทธ ยังได้หารือกับผู้นำญี่ปุ่น ถึงการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยขอให้ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าเกษตรของไทยเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสุกรแปรรูป และผลไม้ โดยเฉพาะตลาดมะม่วง อีก 2 สายพันธุ์ คือเขียวเสวย และโชคอนันต์ ที่ญี่ปุ่นได้บรรจุไว้ในรายการที่ต้องประเมินความเสี่ยง