รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7-8 มี.ค.ที่ผ่านมา รฟม.ได้จัดรฟประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่ได้รับกระทบจากการสร้างปล่องระบายอากาศของรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เข้ารับฟังการประชุม
ทั้งนี้ในการก่อสร้างปล่องระบายอากาศนั้น จะมีทั้งหมด 11 จุด คือ
1.บริเวณสถานีรัฐสภา
2.บริเวณสถานีศรีย่าน
3.ระหว่างสถานีบางขุนพรหม-สถานีผ่านฟ้า
4.ระหว่างสถานีผ่านฟ้า-สถานีวังบูรพา
5.บริเวณสถานีวังบูรพา
6.บริเวณสถานีสะพานพุทธ
7.บริเวณสถานีสำเหร่และ
8.ระหว่างบริเวณสถานีสำเหร่-จอมทอง4 จุด
สำหรับการก่อสร้างปล่องระบายอากาศ จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ประมาณจุดละ 100 ตารางวา ซึ่งบางจุดประชาชนต้องการนำพื้นที่ไปพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ต่อไป จึงอาจจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างปล่องระบายอากาศบ้าง
ดังนั้นทางรฟม. อาจจะต้องมีกาจพิจารณา เพื่อย้ายจุดสร้างปล่องระบายอากาศ ซึ่งภายหลังจากการประชุม ทางบริษัทที่ปรึกษาจะนำเสนอรายละเอียดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน และจะมีการนัดประชุมกับประชาชนเพื่อให้เข้าใจในแนวทางการทำงานด้วย
อย่างไรก็ตามในจุดการสร้างปล่องระบายอากาศนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ว่างและบางจุดมีอาคารที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างรฟม.จะเลือกก่อสร้างในส่วนที่เป็นมุมของที่ดิน จะไม่มีการสร้างบริเวณตรงกลาง เพื่อเป็นการเปิดทางเข้า-ออก ให้เจ้าของพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ในส่วนที่ไม่ได้มีการเวนคืนได้
นอกจากนี้การก่อสร้างปล่องระบายอากาศนั้น ยังมีประชาชนบางส่วนที่มีบ้านอยู่ใกล้เคียงเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการปล่อยอากาศผ่านปล่องระบายอากาศ แต่โดยความจริงแล้วปล่องระบายอากาศไม่ได้มีการปล่อยอากาศเสีย แต่เป็นเพียงจุดที่ลดแรงดันจากใต้ดิน ขณะที่รถวิ่งเท่านั้น ซึ่งหากแต่ละสถานีมีความห่างกันมาก ก็จำเป็นจะต้องสร้างปล่องระบายอากาศ
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใต้จากเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ มีระยะทาง 23.6 กิโลเมตร มีโครงสร้างใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร ยกระดับ 7.8 กิโลเมตร มี 17สถานี ใต้ดิน 10สถานี ยกระดับ 7 สถานี มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ที่วงแหวนอุตสาหกรรมและมีอาคารจอดรถ 2 แห่ง บริเวณสถานีราษฎร์บูรณะและศูนย์ซ่อมบำรุง
ทั้งนี้ในการก่อสร้างปล่องระบายอากาศนั้น จะมีทั้งหมด 11 จุด คือ
1.บริเวณสถานีรัฐสภา
2.บริเวณสถานีศรีย่าน
3.ระหว่างสถานีบางขุนพรหม-สถานีผ่านฟ้า
4.ระหว่างสถานีผ่านฟ้า-สถานีวังบูรพา
5.บริเวณสถานีวังบูรพา
6.บริเวณสถานีสะพานพุทธ
7.บริเวณสถานีสำเหร่และ
8.ระหว่างบริเวณสถานีสำเหร่-จอมทอง4 จุด
สำหรับการก่อสร้างปล่องระบายอากาศ จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่ประมาณจุดละ 100 ตารางวา ซึ่งบางจุดประชาชนต้องการนำพื้นที่ไปพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ต่อไป จึงอาจจะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างปล่องระบายอากาศบ้าง
ดังนั้นทางรฟม. อาจจะต้องมีกาจพิจารณา เพื่อย้ายจุดสร้างปล่องระบายอากาศ ซึ่งภายหลังจากการประชุม ทางบริษัทที่ปรึกษาจะนำเสนอรายละเอียดอีกครั้งเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน และจะมีการนัดประชุมกับประชาชนเพื่อให้เข้าใจในแนวทางการทำงานด้วย
อย่างไรก็ตามในจุดการสร้างปล่องระบายอากาศนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ว่างและบางจุดมีอาคารที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างรฟม.จะเลือกก่อสร้างในส่วนที่เป็นมุมของที่ดิน จะไม่มีการสร้างบริเวณตรงกลาง เพื่อเป็นการเปิดทางเข้า-ออก ให้เจ้าของพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์ในส่วนที่ไม่ได้มีการเวนคืนได้
นอกจากนี้การก่อสร้างปล่องระบายอากาศนั้น ยังมีประชาชนบางส่วนที่มีบ้านอยู่ใกล้เคียงเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการปล่อยอากาศผ่านปล่องระบายอากาศ แต่โดยความจริงแล้วปล่องระบายอากาศไม่ได้มีการปล่อยอากาศเสีย แต่เป็นเพียงจุดที่ลดแรงดันจากใต้ดิน ขณะที่รถวิ่งเท่านั้น ซึ่งหากแต่ละสถานีมีความห่างกันมาก ก็จำเป็นจะต้องสร้างปล่องระบายอากาศ
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงส่วนใต้จากเตาปูน-ราษฏร์บูรณะ มีระยะทาง 23.6 กิโลเมตร มีโครงสร้างใต้ดิน 12.6 กิโลเมตร ยกระดับ 7.8 กิโลเมตร มี 17สถานี ใต้ดิน 10สถานี ยกระดับ 7 สถานี มีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง ที่วงแหวนอุตสาหกรรมและมีอาคารจอดรถ 2 แห่ง บริเวณสถานีราษฎร์บูรณะและศูนย์ซ่อมบำรุง