นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่นางทิชา ณ นคร ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ในส่วนตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีความจำเป็นต้องเร่งสรรหาขึ้นมาเพิ่มเติมแทนตำแหน่งที่ว่างลง 1 คน ส่วนจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการพิจารณา ต้องขึ้นอยู่กับ สปช.จะพิจารณา โดยจะเพิ่มจากรายชื่อบุคคลถัดไปอันดับที่ 21 หรือคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อเดิมจำนวน 500 คนที่มีอยู่ ก็สามารถทำได้
ส่วนตำแหน่งใน สปช.หากไม่มีการตั้งขึ้นใหม่ ก็ไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2557 ระบุว่า สปช.ต้องมีสมาชิกไม่เกิน 250 คน ทั้งนี้ ยืนยันว่า การขาดสมาชิกเพียงคนเดียวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่จะมีความขัดแย้งภายในหรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่อยากออกความคิดเห็นใดๆ เพราะเกรงจะทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นได้อีก ทั้งนี้ กรณีการทำประชามติ เบื้องต้นต้องรอการพิจารณาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งหากเห็นสมควร ก็ต้องมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นเสียก่อน และแม้ คสช.จะมีอำนาจตัดสินใจ แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากการทำประชามติมีกระบวนการต่างๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลา และต้องผ่านการพิจารณาและอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควบคู่ไปด้วย
ส่วนตำแหน่งใน สปช.หากไม่มีการตั้งขึ้นใหม่ ก็ไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2557 ระบุว่า สปช.ต้องมีสมาชิกไม่เกิน 250 คน ทั้งนี้ ยืนยันว่า การขาดสมาชิกเพียงคนเดียวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่จะมีความขัดแย้งภายในหรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่อยากออกความคิดเห็นใดๆ เพราะเกรงจะทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นได้อีก ทั้งนี้ กรณีการทำประชามติ เบื้องต้นต้องรอการพิจารณาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งหากเห็นสมควร ก็ต้องมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นเสียก่อน และแม้ คสช.จะมีอำนาจตัดสินใจ แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากการทำประชามติมีกระบวนการต่างๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลา และต้องผ่านการพิจารณาและอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ควบคู่ไปด้วย