พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ได้รับรายงานจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 16 จังหวัด จึงได้สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสานจังหวัดแก้ไขปัญหาและวางมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งให้สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ภัยแล้งในแต่ละพื้นที่ โดยวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่จำกัดให้เป็นระบบ เกิดประโยชน์สูงสุด และเชื่อมโยงในทุกระดับ รวมถึงแจกจ่ายน้ำทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดช่วงหน้าแล้ง
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 16 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ สกลนคร ลพบุรี บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุโขทัย นครสวรรค์ ขอนแก่น ชัยนาท พิษณุโลก จันทบุรี พิจิตร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ตรัง รวม 52 อำเภอ 312 ตำบล 3,183 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 4.25 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้ง โดยจัดหา ทำความสะอาด ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี สำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภค และใช้น้ำอย่างประหยัด ส่วนเกษตรกรควรเลือกปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย แทนการทำนาปรัง เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) แล้ว 16 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ สกลนคร ลพบุรี บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุโขทัย นครสวรรค์ ขอนแก่น ชัยนาท พิษณุโลก จันทบุรี พิจิตร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ตรัง รวม 52 อำเภอ 312 ตำบล 3,183 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 4.25 ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้ง โดยจัดหา ทำความสะอาด ซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี สำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภค และใช้น้ำอย่างประหยัด ส่วนเกษตรกรควรเลือกปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย แทนการทำนาปรัง เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง