การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ว่าด้วยการค้ำประกันและการจำนอง ด้วยคะแนน 185 ต่อ 2 เสียง พร้อมกำหนดกรอบเวลาการทำงาน 30 วัน และแปรญัตติภายใน 7 วัน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสม เพื่อแก้ไขให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้กับลูกหนี้ และมีการชำระหนี้ตามที่ลดแล้วภายในเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ ให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลสามารถทำข้อตกลงล่วงหน้า ยินยอมให้ผ่อนผันการชำระหนี้ได้ ซึ่งการแก้ไขทั้งหมดนี้เพื่อปกป้องผู้ค้ำประกัน และแก้ปัญหากรณีธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้ รวมทั้งไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ
ขณะที่สมาชิกได้มีการเสนอเพิ่มข้อยกเว้นให้นิติบุคคลที่เป็นผู้ค้ำประกันสามารถทำข้อตกลงผ่อนจ่ายหนี้ล่วงหน้าได้ เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตัวลูกหนี้ เพราะธนาคารสามารถขยายเวลาการชำระให้ลูกหนี้ที่ผิดนัดได้ โดยไม่ต้องส่งฟ้องในทันที รวมทั้งขอให้พิจารณาการบังคับใช้ย้อนหลังอย่างรอบคอบด้วย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสม เพื่อแก้ไขให้ผู้ค้ำประกันได้รับประโยชน์จากการที่เจ้าหนี้ลดหนี้ให้กับลูกหนี้ และมีการชำระหนี้ตามที่ลดแล้วภายในเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ ให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลสามารถทำข้อตกลงล่วงหน้า ยินยอมให้ผ่อนผันการชำระหนี้ได้ ซึ่งการแก้ไขทั้งหมดนี้เพื่อปกป้องผู้ค้ำประกัน และแก้ปัญหากรณีธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้ รวมทั้งไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ
ขณะที่สมาชิกได้มีการเสนอเพิ่มข้อยกเว้นให้นิติบุคคลที่เป็นผู้ค้ำประกันสามารถทำข้อตกลงผ่อนจ่ายหนี้ล่วงหน้าได้ เช่นเดียวกับสถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตัวลูกหนี้ เพราะธนาคารสามารถขยายเวลาการชำระให้ลูกหนี้ที่ผิดนัดได้ โดยไม่ต้องส่งฟ้องในทันที รวมทั้งขอให้พิจารณาการบังคับใช้ย้อนหลังอย่างรอบคอบด้วย