นายภูมิศักดิ์ ทองใหม่ คลังจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) มีสัญญาณหดตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมของจังหวัดยะลา อยู่ในภาวะของการหดตัวร้อยละ 50.56 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากเกษตรกรมีจำนวนวันในการกรีดยางลดลง ประกอบกับราคายางพาราไม่จูงใจให้เกษตรกรกรีดยางพารา ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดลดลงร้อยละ 51.39
ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรม หดตัวร้อยละ 1.12 จากปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราหดตัวร้อยละ 7.07 เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลัก ประกอบกับผลผลิตยางพารา วัตถุดิบหลักที่สำคัญสำหรับใช้ในการผลิตมีจำนวนลดลง โรงงานอุตสาหกรรมจึงมีกำลังการผลิตที่ลดลงตามไปด้วย
ในขณะที่ด้านภาคบริการขยายตัวเล็กน้อย โดยดัชนีภาคบริการขยายตัวร้อยละ 0.13 เป็นผลมาจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น โดนเฉพาะการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ
เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ หรือการใช้จ่าย โดยรวมหดตัวจากเครื่องชี้ ดัชนีการค้าชายแดน หดตัวร้อยละ 35.70 จากมูลค่าการส่งออกรวมหดตัวร้อยละ 36.96 จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีความต้องการลดลง
ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรม หดตัวร้อยละ 1.12 จากปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราหดตัวร้อยละ 7.07 เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลัก ประกอบกับผลผลิตยางพารา วัตถุดิบหลักที่สำคัญสำหรับใช้ในการผลิตมีจำนวนลดลง โรงงานอุตสาหกรรมจึงมีกำลังการผลิตที่ลดลงตามไปด้วย
ในขณะที่ด้านภาคบริการขยายตัวเล็กน้อย โดยดัชนีภาคบริการขยายตัวร้อยละ 0.13 เป็นผลมาจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น โดนเฉพาะการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ
เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ หรือการใช้จ่าย โดยรวมหดตัวจากเครื่องชี้ ดัชนีการค้าชายแดน หดตัวร้อยละ 35.70 จากมูลค่าการส่งออกรวมหดตัวร้อยละ 36.96 จากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีความต้องการลดลง