สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า นายรูเพิร์ต แอ็บบอต ผู้อำนวยการงานวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การนิรโทษกรรมสากล หรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า ปลายเดือนนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาร่างแก้ไขพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ซึ่งให้อำนาจผู้บัญชาการทหารสั่งควบคุมตัวพลเรือนได้ไม่เกิน 84 วัน
นายแอ็บบอต ระบุว่าตามร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ในสภาพที่เกิด “เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น ๆ” ผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด ณ ที่นั้นอาจสั่งให้ควบคุมผู้ต้องหารวมทั้งพลเรือนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งปกติเป็นอำนาจของศาลพลเรือน
แอมเนสตี้ฯ ระบุว่านับแต่เกิดรัฐประหาร กองทัพได้เพิ่มอำนาจในการจับกุมพลเรือน โดยไม่มีข้อกล่าวหาหรือไม่มีโอกาสได้รับการไต่สวนคดีจากศาล โดยสามารถสั่งควบคุมตัวไว้เป็นเวลาไม่เกิน 7 วัน และมีการนำตัวมาขึ้นศาลทหารโดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดี เมื่อรวมกับอำนาจที่มาจากร่างแก้ไขพระราช บัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 แล้ว จะทำให้ทหารสามารถควบคุมตัวพลเรือนได้นานถึง 84 วัน
นายแอ็บบอต กล่าวด้วยว่าที่ผ่านมามีบุคคลหลายร้อยคนที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการตามอำนาจของกฎอัยการศึก และพลเรือนอีกหลายคนต้องเข้ารับการไต่สวนคดีในศาลทหารนับตั้งแต่มีการทำรัฐประหาร ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ในฐานะเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง แอมเนสตี้ฯ เห็นว่าตามกฎหมายแล้ว ประเทศไทยไม่สามารถควบคุมตัวบุคคลได้โดยพลการ การควบคุมตัวบุคคลเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนโดยใช้กฎหมายของฝ่ายบริหาร จึงเป็นการละเมิดสิทธิเหล่านี้อย่างชัดเจน ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดเป็นหลักการไว้นานแล้วว่า ศาลทหารต้องไม่ทำหน้าที่ไต่สวนคดีต่อพลเรือน
นายแอ็บบอต ระบุว่าตามร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ในสภาพที่เกิด “เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น ๆ” ผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด ณ ที่นั้นอาจสั่งให้ควบคุมผู้ต้องหารวมทั้งพลเรือนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งปกติเป็นอำนาจของศาลพลเรือน
แอมเนสตี้ฯ ระบุว่านับแต่เกิดรัฐประหาร กองทัพได้เพิ่มอำนาจในการจับกุมพลเรือน โดยไม่มีข้อกล่าวหาหรือไม่มีโอกาสได้รับการไต่สวนคดีจากศาล โดยสามารถสั่งควบคุมตัวไว้เป็นเวลาไม่เกิน 7 วัน และมีการนำตัวมาขึ้นศาลทหารโดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดี เมื่อรวมกับอำนาจที่มาจากร่างแก้ไขพระราช บัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 แล้ว จะทำให้ทหารสามารถควบคุมตัวพลเรือนได้นานถึง 84 วัน
นายแอ็บบอต กล่าวด้วยว่าที่ผ่านมามีบุคคลหลายร้อยคนที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการตามอำนาจของกฎอัยการศึก และพลเรือนอีกหลายคนต้องเข้ารับการไต่สวนคดีในศาลทหารนับตั้งแต่มีการทำรัฐประหาร ถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ในฐานะเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง แอมเนสตี้ฯ เห็นว่าตามกฎหมายแล้ว ประเทศไทยไม่สามารถควบคุมตัวบุคคลได้โดยพลการ การควบคุมตัวบุคคลเป็นเวลาเกือบ 3 เดือนโดยใช้กฎหมายของฝ่ายบริหาร จึงเป็นการละเมิดสิทธิเหล่านี้อย่างชัดเจน ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดเป็นหลักการไว้นานแล้วว่า ศาลทหารต้องไม่ทำหน้าที่ไต่สวนคดีต่อพลเรือน