กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม ร่วมกันแถลงข่าวการป้องกันและการแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยนายวิมล จันทรโรทัย โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ สกลนคร บุรีรัมย์ ลพบุรี มหาสารคาม สุโขทัย และนครสวรรค์ รวมทั้งคาดว่าจะแล้งเพิ่มขึ้นตามมาอีก 30 จังหวัด โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการป้องกัน ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนด้วยการขอให้เกษตรกรลดการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งพบว่าลดได้ร้อยละ 50
ทั้งนี้ ได้เตรียมมาตรการรับมือต่อจากนี้ด้วยการขุดลอกคูคลอง ทำแก้มลิง เพื่อให้มีน้ำสำรองไว้ใช้ในชุมชน และเตรียมรถเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ เข้าช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า แผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งให้ความสำคัญกับพื้นที่ลุ่มน้ำใหญ่ 2 ลุ่ม คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งแม้จะขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้ลดการปลูกข้าวนาปรัง ก็ยังพบว่าชาวนายังมีการฝืนทำนาปรังรวมพื้นที่กว่า 4 ล้านไร่ กรมชลประทานจึงระบุความจำเป็นที่จะต้องสงวนน้ำในเขื่อนใหญ่ไว้สำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศและผลักดันน้ำเค็มไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน อีกทั้งยังต้องเตรียมน้ำสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม โดยลุ่มเจ้าพระยาเมื่อสิ้นฤดูแล้งจะเหลือน้ำ 4,200 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ ได้เตรียมมาตรการรับมือต่อจากนี้ด้วยการขุดลอกคูคลอง ทำแก้มลิง เพื่อให้มีน้ำสำรองไว้ใช้ในชุมชน และเตรียมรถเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ เข้าช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า แผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งให้ความสำคัญกับพื้นที่ลุ่มน้ำใหญ่ 2 ลุ่ม คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งแม้จะขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้ลดการปลูกข้าวนาปรัง ก็ยังพบว่าชาวนายังมีการฝืนทำนาปรังรวมพื้นที่กว่า 4 ล้านไร่ กรมชลประทานจึงระบุความจำเป็นที่จะต้องสงวนน้ำในเขื่อนใหญ่ไว้สำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศและผลักดันน้ำเค็มไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน อีกทั้งยังต้องเตรียมน้ำสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม โดยลุ่มเจ้าพระยาเมื่อสิ้นฤดูแล้งจะเหลือน้ำ 4,200 ล้านลูกบาศก์เมตร