นายวีระพันธ์ ดวงแป้น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลาเขต 1 เปิดเผยว่า ขณะนี้พื้นที่ภาคใต้เข้าสู่ภาวะฝนทิ้งช่วง เป็นการเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูร้อน ส่งผลให้สวนยางพาราหลายพื้นที่เริ่มผลัดใบ ขณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าตามสวนยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย. ได้ออกแนะนำเกษตรกรชาวสวนยางได้จัดทำแนวกันไฟตามพื้นที่สวน พร้อมวิธีการการบำรุงรักษาต้นยางตลอดระยะเวลาหน้าร้อน
นายวีระพันธ์ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนยางจัดทำแนวกันไฟ โดยการไถหรือขุดถากวัชพืชออกเป็นแถวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร รอบบริเวณสวนยาง ส่วนบริเวณแถวยางให้กำจัดวัชพืชออกให้หมดข้างละ 1 เมตร เพื่อเป็นแนวกันไฟไม่ให้ลุกลามกรณีอากาศร้อนจัดจนเกิดไฟไหม้ป่า และหากต้นยางถูกไฟไหม้แต่ไม่รุนแรง ให้ใช้ส่วนผสมของปูนขาวผสมน้ำอัตรา 1 ต่อ 1 ทิ้งไว้ค้างคืนแล้วทาลำต้น จะช่วยให้ต้นยางที่เสียหายฟื้นได้เร็ว
นอกจากนี้ วิธีการบำรุงรักษาสวนยางช่วงฤดูร้อนซึ่งขาดน้ำและความชื้น ให้เกษตรกรใช้วัสดุ เช่น เศษซากวัชพืช หญ้าคา ฟางข้าว คลุมบริเวณโคนต้นยาง ห่างจากต้น 5-10 เซนติเมตร รัศมีรอบโคนประมาณ 1 เมตร หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน ไปหล่อเลี้ยงรากต้นยางในภาวะขาดแคลนน้ำได้
นายวีระพันธ์ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนยางจัดทำแนวกันไฟ โดยการไถหรือขุดถากวัชพืชออกเป็นแถวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร รอบบริเวณสวนยาง ส่วนบริเวณแถวยางให้กำจัดวัชพืชออกให้หมดข้างละ 1 เมตร เพื่อเป็นแนวกันไฟไม่ให้ลุกลามกรณีอากาศร้อนจัดจนเกิดไฟไหม้ป่า และหากต้นยางถูกไฟไหม้แต่ไม่รุนแรง ให้ใช้ส่วนผสมของปูนขาวผสมน้ำอัตรา 1 ต่อ 1 ทิ้งไว้ค้างคืนแล้วทาลำต้น จะช่วยให้ต้นยางที่เสียหายฟื้นได้เร็ว
นอกจากนี้ วิธีการบำรุงรักษาสวนยางช่วงฤดูร้อนซึ่งขาดน้ำและความชื้น ให้เกษตรกรใช้วัสดุ เช่น เศษซากวัชพืช หญ้าคา ฟางข้าว คลุมบริเวณโคนต้นยาง ห่างจากต้น 5-10 เซนติเมตร รัศมีรอบโคนประมาณ 1 เมตร หนาประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน ไปหล่อเลี้ยงรากต้นยางในภาวะขาดแคลนน้ำได้