นายประชา เตรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า การจัดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปฎิรูปจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน ซึ่งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 77 จังหวัด จะต้องจัดเวทีจังหวัดละ 11 ครั้ง แบ่งเป็นระดับจังหวัด 1 ครั้ง และระดับอำเภอ 10 ครั้ง ที่จะนำความเห็นเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับทราบ
ทั้งนี้ การจัดเวทีระดับอำเภอจะกำหนดกรอบรับฟังความเห็น 5 ประเด็น แต่จะมีประเด็นละ 3 เรื่อง ประกอบด้วย แนวทางการแก้ไขทุจริตและคอร์รัปชัน วิธีการเลือกนักการเมืองที่ดีเข้ามาทำหน้าที่การเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม และการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมาไม่พบอุปสรรคในการดำเนินงาน เพียงแต่งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียง 255,000 บาท ในการจัดรับฟังความคิดเห็น 10 เวที ถือว่าน้อยมาก
สำหรับกรณีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการจัดเวทีของ สปช. ที่เป็นเรื่องของการปฏิรูปประเทศอีก 20 ปีข้างหน้า อีกทั้งการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาร่วมเวทีเน้นย้ำที่ความหลากหลาย ไม่เน้นเฉพาะการเมืองเท่านั้น แต่จะเน้นที่การแก้ไขด้านอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ เรื่องของการถอดถอนมีเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว ถือว่าเป็นรากเหง้าของการขัดแย้ง ซึ่งกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นเรื่องของเวทีการสร้างความปรองดองที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอานาจักร (กอ.รมน.) จะเป็นผู้จัด ซึ่งจะต้องมีการชี้ให้เห็นถึงความเที่ยงตรง หลักนิติรัฐและนิติธรรม เพราะแน่นอนอยู่แล้วที่คนทำผิดจะไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด จึงต้องชี้แจงให้ประชาชนได้เห็นถึงข้อมูลพยานหลักฐาน รวมถึงข้อกฎหมาย ซึ่งตรงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเวทีปฏิรูป และจะไม่นำมาอยู่ในเวทีนี้
ทั้งนี้ การจัดเวทีระดับอำเภอจะกำหนดกรอบรับฟังความเห็น 5 ประเด็น แต่จะมีประเด็นละ 3 เรื่อง ประกอบด้วย แนวทางการแก้ไขทุจริตและคอร์รัปชัน วิธีการเลือกนักการเมืองที่ดีเข้ามาทำหน้าที่การเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม และการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมาไม่พบอุปสรรคในการดำเนินงาน เพียงแต่งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียง 255,000 บาท ในการจัดรับฟังความคิดเห็น 10 เวที ถือว่าน้อยมาก
สำหรับกรณีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการจัดเวทีของ สปช. ที่เป็นเรื่องของการปฏิรูปประเทศอีก 20 ปีข้างหน้า อีกทั้งการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาร่วมเวทีเน้นย้ำที่ความหลากหลาย ไม่เน้นเฉพาะการเมืองเท่านั้น แต่จะเน้นที่การแก้ไขด้านอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ เรื่องของการถอดถอนมีเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว ถือว่าเป็นรากเหง้าของการขัดแย้ง ซึ่งกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นเรื่องของเวทีการสร้างความปรองดองที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอานาจักร (กอ.รมน.) จะเป็นผู้จัด ซึ่งจะต้องมีการชี้ให้เห็นถึงความเที่ยงตรง หลักนิติรัฐและนิติธรรม เพราะแน่นอนอยู่แล้วที่คนทำผิดจะไม่ยอมรับว่าตัวเองผิด จึงต้องชี้แจงให้ประชาชนได้เห็นถึงข้อมูลพยานหลักฐาน รวมถึงข้อกฎหมาย ซึ่งตรงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเวทีปฏิรูป และจะไม่นำมาอยู่ในเวทีนี้