นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค ระบุว่า สำหรับผมในฐานะส่วนตัว ขณะนี้เรื่องเกี่ยวกับปิโตรเลียมได้ดำเนินมาจนครบหนึ่งวงรอบแล้ว เริ่มจากที่วันหนึ่งผมได้รับข้อวิจารณ์โดยสุจริตของคุณรวิฐา พงศ์นุชิต อดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ตรวจการกระทรวงการคลังระดับ 10 อดีต Chief of Staff ของผมในขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง และเป็นผู้ที่เรียนจบทางกฎหมาย
ผมได้นำข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องท่อก๊าซดังกล่าวแสดงในเฟซบุคนี้
ปรากฏว่า บริษัท ปตท. ได้ฟ้องคดีผม อ้างความผิต พรบ คอมพิวเตอร์ จนถึงวันนี้มีทั้งหมด 2 คดี และประธานบริษัท ปตท. นายปิยสวัสดิ์ ได้ฟ้องคดีส่วนตัวอีก 1 คดี
ในการเตรียมตัวเพื่อสู้คดีดังกล่าว ทำให้ผมต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียม เกี่ยวกับบริษัท ปตท. และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมาก และต้องขอขอบคุณผู้ที่หวังดีที่ได้กรุณาส่งข้อมูลต่างๆ ให้ผม จึงทำให้ผมมีความรอบรู้ไม่เฉพาะเรื่องท่อแต่ทะลุปรุโปร่งไปยังเรื่องอื่นๆ ด้วย
ผมจึงประเมิณว่า มาถึงวันนี้ ปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิมนั้น น่าจะเป็นรถไฟที่ไถลตกรางไปเสียแล้ว ต่อให้บุคคลที่อยู่เบื้องหลังอยากจะผลักดันรถไฟนี้ไปข้างหน้าเท่าใดก็ตาม แต่มีกำแพงกั้นอยู่หลายชั้นเสียแล้ว
1 ขณะนี้มีประชาชนจำนวนมาก ที่ตื่นรู้เรื่องปิโตรเลียม และเรียกร้องอย่างบริสุทธิ์ต้องการให้การบริหารจัดการทรัพยากรของส่วนรวม มีความโปร่งใส เป็นที่ศรัทธาของประชาชน รัฐบาลจะไม่รับฟังได้อย่างไร
2 สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีมติเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ซึ่งสภานี้ คสช แต่งตั้งเองกับมือ โดยคัดเลือกจากกลุ่มประชาชนผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ล้วนเป็นบุคคลที่มีเกียรติ รัฐบาลจะไม่รับฟังได้อย่างไร
3 บุคคลที่แสดงความเห็นคัดค้านปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิมนั้น มีบางคนที่สังคมยกย่องนับถืออย่างสูง เคยมีผลงานดีเด่นต่อประเทศเป็นที่ประจักษ์ และเป็นผู้ที่มีข้อมูลรอบด้าน ตัวอย่างเช่น นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ และพลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป รัฐบาลจะไม่รับฟังได้อย่างไร
แต่ในวันนี้ ผมได้เพิ่มกำแพงอีกชั้นหนึ่ง โดยได้ส่งสำเนาหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีเสนอให้ปฏิรูปการคลังปิโตรเลียมก่อนที่จะเปิดพื้นที่สัมปทานรอบที่ 21 โดยส่งให้แก่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- ปลัดกระทรวงพลังงาน
- ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแก่กรรมการ
- ประธานคณะกรรมการปิโตรเลียม เพื่อนำเสนอแก่กรรมการ
ผมทำงานราชการมาตลอดชีวิตจนเกือบวันเกษียณอายุ และผมรู้ดีว่า เมื่อมีผู้ทักท้วงให้แก้ไขจุดอ่อนการคลังปิโตรเลียมก่อน เพราะการคลังที่ใช้มานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเสียแล้ว และหากไม่แก้ไขเสียก่อนจะทำให้ประเทศไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด
ถ้าผมเป็นข้าราชการไม่ว่าประจำหรือการเมือง การที่ผมจะปัดข้อทักท้วงที่เป็นเหตุเป็นผล ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการ ที่เป็นข้อทักท้วงที่ปราศจากผลประโยชน์ แล้วถ้าเกิดพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของผมทำให้ประเทศไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด ผมย่อมมีความผิด
ด้วยเหตุนี้และด้วยความห่วงใยเพื่อนข้าราชการ ผมจึงได้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าว เพื่อเปิดให้ข้าราชการมีโอกาสทบทวน และถ้าหากข้อท้วงติงของผมสมเหตุสมผล เนื่องจากการแก้ไขในจุดต่างๆ จะต้องดำเนินการด้วยการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
ผมจึงประเมิณว่าปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิมนั้น น่าจะเป็นรถไฟที่ไถลตกรางไปเสียแล้ว
ผมได้นำข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องท่อก๊าซดังกล่าวแสดงในเฟซบุคนี้
ปรากฏว่า บริษัท ปตท. ได้ฟ้องคดีผม อ้างความผิต พรบ คอมพิวเตอร์ จนถึงวันนี้มีทั้งหมด 2 คดี และประธานบริษัท ปตท. นายปิยสวัสดิ์ ได้ฟ้องคดีส่วนตัวอีก 1 คดี
ในการเตรียมตัวเพื่อสู้คดีดังกล่าว ทำให้ผมต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปิโตรเลียม เกี่ยวกับบริษัท ปตท. และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมาก และต้องขอขอบคุณผู้ที่หวังดีที่ได้กรุณาส่งข้อมูลต่างๆ ให้ผม จึงทำให้ผมมีความรอบรู้ไม่เฉพาะเรื่องท่อแต่ทะลุปรุโปร่งไปยังเรื่องอื่นๆ ด้วย
ผมจึงประเมิณว่า มาถึงวันนี้ ปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิมนั้น น่าจะเป็นรถไฟที่ไถลตกรางไปเสียแล้ว ต่อให้บุคคลที่อยู่เบื้องหลังอยากจะผลักดันรถไฟนี้ไปข้างหน้าเท่าใดก็ตาม แต่มีกำแพงกั้นอยู่หลายชั้นเสียแล้ว
1 ขณะนี้มีประชาชนจำนวนมาก ที่ตื่นรู้เรื่องปิโตรเลียม และเรียกร้องอย่างบริสุทธิ์ต้องการให้การบริหารจัดการทรัพยากรของส่วนรวม มีความโปร่งใส เป็นที่ศรัทธาของประชาชน รัฐบาลจะไม่รับฟังได้อย่างไร
2 สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีมติเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ซึ่งสภานี้ คสช แต่งตั้งเองกับมือ โดยคัดเลือกจากกลุ่มประชาชนผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ล้วนเป็นบุคคลที่มีเกียรติ รัฐบาลจะไม่รับฟังได้อย่างไร
3 บุคคลที่แสดงความเห็นคัดค้านปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิมนั้น มีบางคนที่สังคมยกย่องนับถืออย่างสูง เคยมีผลงานดีเด่นต่อประเทศเป็นที่ประจักษ์ และเป็นผู้ที่มีข้อมูลรอบด้าน ตัวอย่างเช่น นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ และพลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป รัฐบาลจะไม่รับฟังได้อย่างไร
แต่ในวันนี้ ผมได้เพิ่มกำแพงอีกชั้นหนึ่ง โดยได้ส่งสำเนาหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีเสนอให้ปฏิรูปการคลังปิโตรเลียมก่อนที่จะเปิดพื้นที่สัมปทานรอบที่ 21 โดยส่งให้แก่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- ปลัดกระทรวงพลังงาน
- ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแก่กรรมการ
- ประธานคณะกรรมการปิโตรเลียม เพื่อนำเสนอแก่กรรมการ
ผมทำงานราชการมาตลอดชีวิตจนเกือบวันเกษียณอายุ และผมรู้ดีว่า เมื่อมีผู้ทักท้วงให้แก้ไขจุดอ่อนการคลังปิโตรเลียมก่อน เพราะการคลังที่ใช้มานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเสียแล้ว และหากไม่แก้ไขเสียก่อนจะทำให้ประเทศไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด
ถ้าผมเป็นข้าราชการไม่ว่าประจำหรือการเมือง การที่ผมจะปัดข้อทักท้วงที่เป็นเหตุเป็นผล ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการ ที่เป็นข้อทักท้วงที่ปราศจากผลประโยชน์ แล้วถ้าเกิดพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของผมทำให้ประเทศไม่ได้รับประโยชน์สูงสุด ผมย่อมมีความผิด
ด้วยเหตุนี้และด้วยความห่วงใยเพื่อนข้าราชการ ผมจึงได้ส่งสำเนาหนังสือดังกล่าว เพื่อเปิดให้ข้าราชการมีโอกาสทบทวน และถ้าหากข้อท้วงติงของผมสมเหตุสมผล เนื่องจากการแก้ไขในจุดต่างๆ จะต้องดำเนินการด้วยการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
ผมจึงประเมิณว่าปิโตรเลียมรอบ 21 ในรูปแบบสัมปทานเหมือนเดิมนั้น น่าจะเป็นรถไฟที่ไถลตกรางไปเสียแล้ว