นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวถึงกรณีน้ำเค็มมีแนวโน้มรุกล้ำเข้าระบบน้ำประปา ส่งผลให้ประชาชนในกรุงเทพมหานคร อาจจะต้องดื่มน้ำกร่อย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมนี้ว่า สำหรับกรณีดังกล่าวทาง กปน.ได้มีการตั้งศูนย์เฉพาะกิจ เพื่อรองรับสถานการณ์โดยเฉพาะ ตั้งแต่ 22 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา และเฝ้าระวังมาตลอด ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะมีข้อมูลน้ำที่ผ่านจุดต่างๆ รวมถึงข้อมูลปริมาณน้ำฝน ร่วมกับทางกรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยา
โดยศูนย์เฉพาะกิจนี้จะมีจุดเฝ้าระวังที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อดูระดับน้ำว่า ควรจะผ่านในอัตราไม่ต่ำกว่า 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งปัจจุบันสามารถจ่ายน้ำมาได้ใกล้เคียงกับอัตราที่กำหนด ทำให้สามารถยับยั้งน้ำเค็มที่รุกล้ำได้ส่วนหนึ่ง สำหรับน้ำเค็มในปัจจุบันที่ขึ้นมาถึงจุดสูบน้ำ จ.ปทุมธานี ล่าสุดความเค็มอยู่ที่ 0.19 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร จากมาตรฐานที่สามารถรับความเค็มได้ 0.25 กรัม ต่ำกว่ามาตรฐานเล็กน้อย แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่น้ำยังไม่มีความกร่อย โดยมั่นใจว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมนี้ คนกรุงเทพฯ จะไม่ดื่มน้ำกร่อย
อย่างไรก็ตาม ตนขอฝากไปยังประชาชนให้สำรองน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค อย่างเพียงพอ รู้คุณค่า และประหยัด รวมถึงตรวจสอบท่อสุขภัณฑ์ เพื่อป้องกันการรั่วไหล สำหรับประชาชนที่มีปัญหา สามารถโทรแจ้งมาได้ที่ การประปานครหลวง 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยศูนย์เฉพาะกิจนี้จะมีจุดเฝ้าระวังที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อดูระดับน้ำว่า ควรจะผ่านในอัตราไม่ต่ำกว่า 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งปัจจุบันสามารถจ่ายน้ำมาได้ใกล้เคียงกับอัตราที่กำหนด ทำให้สามารถยับยั้งน้ำเค็มที่รุกล้ำได้ส่วนหนึ่ง สำหรับน้ำเค็มในปัจจุบันที่ขึ้นมาถึงจุดสูบน้ำ จ.ปทุมธานี ล่าสุดความเค็มอยู่ที่ 0.19 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร จากมาตรฐานที่สามารถรับความเค็มได้ 0.25 กรัม ต่ำกว่ามาตรฐานเล็กน้อย แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่น้ำยังไม่มีความกร่อย โดยมั่นใจว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมนี้ คนกรุงเทพฯ จะไม่ดื่มน้ำกร่อย
อย่างไรก็ตาม ตนขอฝากไปยังประชาชนให้สำรองน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค อย่างเพียงพอ รู้คุณค่า และประหยัด รวมถึงตรวจสอบท่อสุขภัณฑ์ เพื่อป้องกันการรั่วไหล สำหรับประชาชนที่มีปัญหา สามารถโทรแจ้งมาได้ที่ การประปานครหลวง 1125 ตลอด 24 ชั่วโมง