สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดทะยานขึ้นกว่า 30 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (15 ม.ค.) โดยสัญญาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือน หลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจยกเลิกมาตรการควบคุมสกุลเงินฟรังก์ ด้วยการยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโร
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 30.3 ดอลลาร์ หรือ 2.45% ปิดที่ระดับ 1,264.80 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำทะยานขึ้นหลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%
การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวที่มีการกำหนดขึ้นในวันที่ 6 ก.ย. 2554 นั้น มีเป้าหมายที่จะควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของธนาคารกลางสวิสได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมวันที่ 22 ม.ค.นี้ เพื่อสกัดภาวะเงินฝืด
ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในผู้ซื้อสกุลเงินยูโรรายใหญ่ของโลก ซึ่งการประกาศยกเลิกการควบคุมค่าเงินฟรังก์นั้น สะท้อนให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโรและยังบ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในยูโรโซน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 30.3 ดอลลาร์ หรือ 2.45% ปิดที่ระดับ 1,264.80 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาทองคำทะยานขึ้นหลังจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกเพดานการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนฟรังก์สวิสเมื่อเทียบกับยูโรที่ 1.20 ฟรังก์สวิส พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ -0.75% จาก -0.25%
การประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวที่มีการกำหนดขึ้นในวันที่ 6 ก.ย. 2554 นั้น มีเป้าหมายที่จะควบคุมค่าเงินฟรังก์สวิสไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปเมื่อเทียบกับยูโร รวมทั้งไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอย และตกอยู่ในภาวะเงินฝืด
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของธนาคารกลางสวิสได้เพิ่มน้ำหนักให้กับกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจจะประกาศโครงการซื้อพันธบัตรในระหว่างการประชุมวันที่ 22 ม.ค.นี้ เพื่อสกัดภาวะเงินฝืด
ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในผู้ซื้อสกุลเงินยูโรรายใหญ่ของโลก ซึ่งการประกาศยกเลิกการควบคุมค่าเงินฟรังก์นั้น สะท้อนให้เห็นว่าสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโรและยังบ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในยูโรโซน