นายสุนทร รักษ์รงค์ ตัวแทนสมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือถึงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยกล่าวถึงการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า ยังมีข้อผิดพลาด และไม่ส่งเสริมแรงจูงใจในการปลูกป่าของสังคม ขณะเดียวกัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้บรรจุไม้ยางพาราในบัญชีท้ายโดยพลการ และไม่เคยขอความเห็นจากเกษตรกรชาวสวนยาง ทางสมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางฯ เห็นว่า การที่ไม้ยางพาราอยู่นอกบัญชีต้นไม้ท้าย พ.ร.บ.แบบเดิม ที่ไม่ต้องขออนุญาตการตัดโค่น และเคลื่อนย้ายไม้ยางพาราจากกรมป่าไม้ถูกต้องแล้ว หากไม้ยางพาราถูกบรรจุในบัญชีท้ายนี้ จะเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นการขูดรีดและซ้ำเติมความเดือดร้อนจากภาวะยางพาราตกต่ำ
ทั้งนี้ สมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางฯ จึงมีมติให้หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 พิจารณายกเลิก พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 โดยจะทำให้การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวใน สนช.ยุติลงทันที หากการพิจารณา พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ยังดำเนินการต่อไป จะมีชาวสวนยางทั่วประเทศมารวมตัวที่ศาลากลางทุกจังหวัด โดยตนและแกนนำจะเดินทางมาให้กำลังใจ สนช.
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางยังไม่พอใจในราคายาง และมาตรการแทรกแซงของรัฐบาลที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ราคารับซื้อน้ำยางในแต่ละพื้นที่ยังบิดเบือนกับราคากับในตลาดกลาง
ทั้งนี้ นายสุนทรยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพูดคุย และทำความเข้าใจกับเกษตรโดยตรง เพราะขณะนี้ได้รวบรวมเกษตรกรทั่วประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากรวบรวมได้จะมาพูดคุยด้วยตนเอง
นอกจากนี้ วันที่ 22 มกราคม จะมีการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบ โดยมีนายอำนวย ปะติเส เป็นประธาน เพื่อหารือแนวทางปฏิบัติ และวางแผนรองรับฤดูกรีดยางพาราครั้งถัดไป
ทั้งนี้ สมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางฯ จึงมีมติให้หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 พิจารณายกเลิก พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 โดยจะทำให้การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวใน สนช.ยุติลงทันที หากการพิจารณา พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. 2535 ยังดำเนินการต่อไป จะมีชาวสวนยางทั่วประเทศมารวมตัวที่ศาลากลางทุกจังหวัด โดยตนและแกนนำจะเดินทางมาให้กำลังใจ สนช.
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางยังไม่พอใจในราคายาง และมาตรการแทรกแซงของรัฐบาลที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ราคารับซื้อน้ำยางในแต่ละพื้นที่ยังบิดเบือนกับราคากับในตลาดกลาง
ทั้งนี้ นายสุนทรยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพูดคุย และทำความเข้าใจกับเกษตรโดยตรง เพราะขณะนี้ได้รวบรวมเกษตรกรทั่วประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากรวบรวมได้จะมาพูดคุยด้วยตนเอง
นอกจากนี้ วันที่ 22 มกราคม จะมีการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบ โดยมีนายอำนวย ปะติเส เป็นประธาน เพื่อหารือแนวทางปฏิบัติ และวางแผนรองรับฤดูกรีดยางพาราครั้งถัดไป