สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 ม.ค.ว่า นายราเดน อัคมัด ซาดิคิน ผู้อำนวยการฝ่ายความปลอดภัยและมั่นคงของสายการบินแอร์เอเชียอินโดนีเซียแถลงว่า เครื่องบินของสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน 7633 ที่เตรียมบินขึ้นสู่ท้องฟ้าจากสนามบินเมืองสุราบายา เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ต้องกลับเข้าจอดที่สนามบิน เนื่องจากเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์เกิดดับ ทำให้นักบินต้องนำเครื่องกลับมาจอดเทียบที่ประตูขึ้นเครื่องบินอีกครั้ง
ขณะที่สื่อท้องถิ่นของอินโดนีเซียรายงานข่าวว่า เครื่องยนต์ของเครื่องบินที่มุ่งหน้าไปยังเมืองบันดุง เกิดดับหลังจากเกิดเสียงระเบิดดังสนั่นขึ้น สร้างความตื่นตกใจให้แก่ผู้โดยสาร อย่างไรก็ตามสายการบินออกมาย้ำว่า เหตุดังกล่าวเป็นเหตุเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้เครื่องบินลำดังกล่าวได้เดินทางถึงที่หมายในเขตชวาตะวันตกอย่างปลอดภัย หลังนำเครื่องเข้าตรวจเช็คสภาพ โดยนายโทนี เฟอร์นันเดส ผู้ก่อตั้งสายการบินแอร์เอเชียทวิตข้อความว่า พาดหัวข่าวในมาเลเซียถือเป็นเรื่องไร้สาระ ทั้งยังยืนยันว่าเครื่องยนต์ของเครื่องบินไม่ได้หยุดทำงานตามที่ข่าวนำเสนอ เพียงแค่นำหน่วยสำรองกำลังไฟฟ้า(เอพียู)ที่ใช้จ่ายไฟให้กับเครื่องบินขณะอากาศยานอยู่บนภาคพื้นมาทำการรีสตาร์ทใหม่เท่านั้น
เหตุระทึกขวัญดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง1 สัปดาห์หลังเที่ยวบิน 8501 ของสายการบินตกลงในทะเลชวา ซึ่งเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียคาดว่าน่าจะมาจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ ที่น้ำแข็งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ขัดข้องขณะบินฝ่าพายุ
ขณะที่สื่อท้องถิ่นของอินโดนีเซียรายงานข่าวว่า เครื่องยนต์ของเครื่องบินที่มุ่งหน้าไปยังเมืองบันดุง เกิดดับหลังจากเกิดเสียงระเบิดดังสนั่นขึ้น สร้างความตื่นตกใจให้แก่ผู้โดยสาร อย่างไรก็ตามสายการบินออกมาย้ำว่า เหตุดังกล่าวเป็นเหตุเล็กน้อยเท่านั้น
ทั้งนี้เครื่องบินลำดังกล่าวได้เดินทางถึงที่หมายในเขตชวาตะวันตกอย่างปลอดภัย หลังนำเครื่องเข้าตรวจเช็คสภาพ โดยนายโทนี เฟอร์นันเดส ผู้ก่อตั้งสายการบินแอร์เอเชียทวิตข้อความว่า พาดหัวข่าวในมาเลเซียถือเป็นเรื่องไร้สาระ ทั้งยังยืนยันว่าเครื่องยนต์ของเครื่องบินไม่ได้หยุดทำงานตามที่ข่าวนำเสนอ เพียงแค่นำหน่วยสำรองกำลังไฟฟ้า(เอพียู)ที่ใช้จ่ายไฟให้กับเครื่องบินขณะอากาศยานอยู่บนภาคพื้นมาทำการรีสตาร์ทใหม่เท่านั้น
เหตุระทึกขวัญดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง1 สัปดาห์หลังเที่ยวบิน 8501 ของสายการบินตกลงในทะเลชวา ซึ่งเจ้าหน้าที่อินโดนีเซียคาดว่าน่าจะมาจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ ที่น้ำแข็งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ขัดข้องขณะบินฝ่าพายุ