นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวสรุปผลงานของ สนช.ในปี 2557 ว่า ผลงานด้านการตรากฎหมาย ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน 1 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญก่อนรับหลักการ โดยกรรมาธิการฯ ได้ขอขยายเวลาการพิจารณาออกไปอีก 30 วัน โดยจะครบกำหนดวันที่ 26 มกราคมนี้ ส่วน.ร.บ.ที่พิจารณาแล้วมีจำนวน 71 ฉบับ แบ่งเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เสนอ จำนวน 21 ฉบับ และคณะรัฐมนตรีเสนอ จำนวน 49 ฉบับ
ส่วนการถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่ง จำนวน 4 เรื่อง คือ การถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา การถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร การถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 ราย จากกรณีเสนอร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งประเด็นนี้เพิ่งสั่งบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม
นายพรเพชร กล่าวว่า กฎหมาย 49 ฉบับที่ผ่านไป ส่วนใหญ่ค้างการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฏรชุดก่อน โดยรัฐบาลและ คสช.เห็นว่ากฎหมายเหล่านี้มีประโยชน์ที่จะดำเนินการต่อ จึงเสนอให้ สนช.พิจารณา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ คสช.สามารถสร้างประโยชน์ต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
นอกจากนี้ นายพรเพชร ยังกล่าวถึงกรณีที่ สนช.สร้างบรรทัดฐานเรื่องนโยบายการเข้าประชุม การขาด การลาของสมาชิก ว่า สิ่งที่ สนช.ปฏิบัติ ทั้งการเข้าประชุม การออกเสียงมติในที่ประชุม เป็นหลักการสำคัญของการรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แม้ไม่ใช่ประเพณีปฏิบัติ แต่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้แบบถาวร เพราะเมื่อต้องมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ สมาชิกควรจะต้องอยู่และรับทราบ รับฟังความเห็นของเพื่อนสมาชิกที่อภิปราย หรือคำชี้แจงของผู้ชี้แจง ทั้งจากรัฐบาลและสมาชิกด้วยกันเอง จึงจะลงคะแนนเสียงของตนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบรัฐสภาต้องการอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงแต่เข้ามาประชุม ลงคะแนน องค์ประชุมเป็นเรื่องสำคัญมากส่งผลต่อความมิชอบของกฎหมายที่ตราขึ้น
ส่วนการถอดถอนบุคคลออกจากตําแหน่ง จำนวน 4 เรื่อง คือ การถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา การถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร การถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 ราย จากกรณีเสนอร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งประเด็นนี้เพิ่งสั่งบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม
นายพรเพชร กล่าวว่า กฎหมาย 49 ฉบับที่ผ่านไป ส่วนใหญ่ค้างการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฏรชุดก่อน โดยรัฐบาลและ คสช.เห็นว่ากฎหมายเหล่านี้มีประโยชน์ที่จะดำเนินการต่อ จึงเสนอให้ สนช.พิจารณา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ คสช.สามารถสร้างประโยชน์ต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
นอกจากนี้ นายพรเพชร ยังกล่าวถึงกรณีที่ สนช.สร้างบรรทัดฐานเรื่องนโยบายการเข้าประชุม การขาด การลาของสมาชิก ว่า สิ่งที่ สนช.ปฏิบัติ ทั้งการเข้าประชุม การออกเสียงมติในที่ประชุม เป็นหลักการสำคัญของการรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แม้ไม่ใช่ประเพณีปฏิบัติ แต่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้แบบถาวร เพราะเมื่อต้องมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องต่างๆ สมาชิกควรจะต้องอยู่และรับทราบ รับฟังความเห็นของเพื่อนสมาชิกที่อภิปราย หรือคำชี้แจงของผู้ชี้แจง ทั้งจากรัฐบาลและสมาชิกด้วยกันเอง จึงจะลงคะแนนเสียงของตนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบรัฐสภาต้องการอย่างยิ่ง ไม่ใช่เพียงแต่เข้ามาประชุม ลงคะแนน องค์ประชุมเป็นเรื่องสำคัญมากส่งผลต่อความมิชอบของกฎหมายที่ตราขึ้น