น้ำมันฟื้นตัวเล็กน้อยในวันอังคาร(30ธ.ค.) แต่นักวิเคราะห์มองตลาดยังกังวลต่ออุปทานที่มากเกินความต้องการ
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 51 เซนต์ ปิดที่ 54.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2 เซนต์ ปิดที่ 57.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นอกเหนือจากแรงซื้อของเทรดเดอร์แล้ว ราคาน้ำมันยังได้รับปัจจัยบวกจากปัญหาการผลิตในลิเบีย หลังจากบริษัทเนชันแนล ออยล์ คอร์ปของทางการลิเบีย เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กลุ่มหัวรุนแรงได้โจมตีท่าเรือขนส่งน้ำมันเอส ไซเดอร์ ซึ่งเป็นท่าขนส่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยส่งผลให้เกิดเพลิงลุกไหม้ถังเก็บน้ำมันหลายแห่ง
หลังการจู่โจมดังกล่าว มีรายงานว่าการผลิตน้ำมันของลิเบียร่วงลงอย่างน้อย 65% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 850,000 บาร์เรล/วันในเดือนต.ค.
อย่างไรก็ตาม ความวิตกเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาดจะยังคงสร้างแรงกดดันช่วงขาลงต่อราคาน้ำมัน
เมื่อวันพุธที่แล้ว สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ธ.ค. พุ่งขึ้น 7.3 ล้านบาร์เรล แตะ 387.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะร่วงลงประมาณ 1.8 ล้านบาร์เรล
ส่วนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ก็ยังคงตรึงโควตาการผลิตไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรล/วันในการประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่กรุงเวียนนา ซึ่งนับเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมัน
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 51 เซนต์ ปิดที่ 54.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 2 เซนต์ ปิดที่ 57.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นอกเหนือจากแรงซื้อของเทรดเดอร์แล้ว ราคาน้ำมันยังได้รับปัจจัยบวกจากปัญหาการผลิตในลิเบีย หลังจากบริษัทเนชันแนล ออยล์ คอร์ปของทางการลิเบีย เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กลุ่มหัวรุนแรงได้โจมตีท่าเรือขนส่งน้ำมันเอส ไซเดอร์ ซึ่งเป็นท่าขนส่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยส่งผลให้เกิดเพลิงลุกไหม้ถังเก็บน้ำมันหลายแห่ง
หลังการจู่โจมดังกล่าว มีรายงานว่าการผลิตน้ำมันของลิเบียร่วงลงอย่างน้อย 65% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 850,000 บาร์เรล/วันในเดือนต.ค.
อย่างไรก็ตาม ความวิตกเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาดจะยังคงสร้างแรงกดดันช่วงขาลงต่อราคาน้ำมัน
เมื่อวันพุธที่แล้ว สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ธ.ค. พุ่งขึ้น 7.3 ล้านบาร์เรล แตะ 387.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะร่วงลงประมาณ 1.8 ล้านบาร์เรล
ส่วนกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ก็ยังคงตรึงโควตาการผลิตไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรล/วันในการประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่กรุงเวียนนา ซึ่งนับเป็นปัจจัยถ่วงราคาน้ำมัน