นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย เขต 1 ปทุมธานี และผู้ตรวจราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลกำหนดให้จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ป่าสัก บางปะกง บึงบอระเพ็ด และกว๊านพะเยา รวม 26 จังหวัด เร่งขุดลอก ปรับสภาพลำน้ำ และปรับภูมิทัศน์ โดยเฉพาะการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ หรือเก็บกักน้ำไว้ใช้ในทุกฤดูกาล ซึ่งให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2558 ล่าสุด มี 9 อำเภอจาก 16 อำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำจัดผักตบชวาไปแล้วเกือบ 2 แสนตัน จากทั้งหมดกว่า 8 ล้านตัน ดังนั้น จากนี้ไปจะต้องเร่งดำเนินการ โดยดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นไปตามโครงการ "คลองสวย น้ำใส คนไทยมีความสุข"
ทั้งนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จังหวัดต้องนำความรู้เผยแพร่สู่ประชาชน โดยเฉพาะ อปท. และชุมชน ให้เก็บผักตบชวาให้หมด เนื่องจากจะขยายตัวเร็วมาก และหากปล่อยทิ้งไว้จะหนาแน่นเหมือนเดิม ดังนั้น งบประมาณที่นำมาใช้เพื่อการนี้ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท จะไม่มีประโยชน์เลย สูญเสีย โดยเฉพาะการเกิดอุทกภัย ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะให้ความรู้ประชาชน สร้างจิตสำนึก โดยดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้ปลอดจากผักตบชวา รวมถึง วัชพืชน้ำ และขยะด้วย
นายชยันต์ กล่าวด้วยว่า หลังพิจารณาข้อมูลตัวเลขพบว่า ปัญหาการจัดเก็บผักตบชวาต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก รวมถึงระยะเวลา จึงเกรงว่าจะไม่แล้วเสร็จทันในเดือนมีนาคม 2558 ตามที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกภาคส่วนระดมสรรพกำลังให้มากที่สุด
ทั้งนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จังหวัดต้องนำความรู้เผยแพร่สู่ประชาชน โดยเฉพาะ อปท. และชุมชน ให้เก็บผักตบชวาให้หมด เนื่องจากจะขยายตัวเร็วมาก และหากปล่อยทิ้งไว้จะหนาแน่นเหมือนเดิม ดังนั้น งบประมาณที่นำมาใช้เพื่อการนี้ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท จะไม่มีประโยชน์เลย สูญเสีย โดยเฉพาะการเกิดอุทกภัย ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะให้ความรู้ประชาชน สร้างจิตสำนึก โดยดึงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้ปลอดจากผักตบชวา รวมถึง วัชพืชน้ำ และขยะด้วย
นายชยันต์ กล่าวด้วยว่า หลังพิจารณาข้อมูลตัวเลขพบว่า ปัญหาการจัดเก็บผักตบชวาต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก รวมถึงระยะเวลา จึงเกรงว่าจะไม่แล้วเสร็จทันในเดือนมีนาคม 2558 ตามที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกภาคส่วนระดมสรรพกำลังให้มากที่สุด