การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช.วันนี้ (22 ธ.ค.) มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.เป็นประธานการประชุม โดยพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง หลักประกันความมั่นคงด้านรายได้เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ : การเร่งรัดการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 ซึ่งคณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เป็นผู้เสนอ
นายอำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปสังคมฯ ชี้แจงหลักการและเหตุผล ว่า ขณะนี้ไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องมีหลักประกันคุณภาพชีวิต 3 ด้านหลัก คือด้านสุขภาพ ด้านรายได้ และด้านสังคม แต่ผู้สูงอายุกลับไม่ได้รับการดูแลคุณภาพชีวิตที่ดี แม้ว่าจะมีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ประกอบกับพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ไม่มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง จึงไม่สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ได้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอย่างกว้างขวาง กรรมาธิการฯ จึงเสนอให้แจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีให้เร่งปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 ทันที เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถมีกองทุนในการช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างแท้จริง
ขณะที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอภิปรายสนับสนุนกรรมาธิการฯ แต่กังวลว่าผู้ใช้แรงงานในปัจจุบันที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคตจะไม่มีหลักประกันในการดูแลตนเอง จึงควรผลักดันให้กลุ่มเหล่านี้มีหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านระบบการออมแห่งชาติ
นายอำพล จินดาวัฒนะ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปสังคมฯ ชี้แจงหลักการและเหตุผล ว่า ขณะนี้ไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องมีหลักประกันคุณภาพชีวิต 3 ด้านหลัก คือด้านสุขภาพ ด้านรายได้ และด้านสังคม แต่ผู้สูงอายุกลับไม่ได้รับการดูแลคุณภาพชีวิตที่ดี แม้ว่าจะมีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ประกอบกับพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ ไม่มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง จึงไม่สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ได้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอย่างกว้างขวาง กรรมาธิการฯ จึงเสนอให้แจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีให้เร่งปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 ทันที เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถมีกองทุนในการช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างแท้จริง
ขณะที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติอภิปรายสนับสนุนกรรมาธิการฯ แต่กังวลว่าผู้ใช้แรงงานในปัจจุบันที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคตจะไม่มีหลักประกันในการดูแลตนเอง จึงควรผลักดันให้กลุ่มเหล่านี้มีหลักประกันคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านระบบการออมแห่งชาติ