มาตรการปิดชายแดน กักกันโรคและเหตุสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรในเหล่าชาติแอฟริกาตะวันตกที่กำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา อาจทำให้ประชาชนมากถึง 1 ล้านคนเข้าสู่ภาวะอดอยาก หน่วยงานด้านอาหารขององค์การสหประชาชาติเปิดเผยในวันพุธ(17ธ.ค.)
ไข้เลือดออกมรณะที่คร่าชีวิตผู้คนแล้วกว่า 6,800 ศพ ได้ก่อผลกระทบร้ายแรงต่อวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนในไลบีเรีย กินีและเซียร์ลีโอน โดย 2 ประเทศหลังถึงขั้นต้องสั่งห้ามเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติและโครงการอาหารโลก บอกว่าโรคติดต่อและผลลัพธ์จากข้อจำกัดต่างๆได้ก่อผลกระทบร้ายแรงต่อภาคอาหารและเกษตรกรรมในเหล่าชาติที่อีโบลาแพร่ระบาดหนักหน่วงที่สุด
"การสูญเสียผลผลิตและรายได้ครัวเรือน สืบเนื่องจากการเสียชีวิตหรือล้มป่วยที่สัมพันธ์กับอีโบลา รวมถึงไม่กล้าไปทำงานเพราะกลัวติดโรคระบาด คือปัจจัยที่กำลังฉุดให้เศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศชะลอตัว" สองหน่วยงานระบุในถ้อยแถลงร่วม
ถ้อยแถลงบอกด้วยว่าข้อจำกัดต่างๆนานาที่กำหนดออกมาเพื่อยับยั้งไวรัสมรณะ กลับกลายเป็นตัวฉุดรั้งประชาชนในการเข้าถึงอาหาร คุกคามวิถีชีวิตประจำวัน ก่อความยุ่งเหยิงแก่ตลาดอาหารและห่วงโซ่การแปรรูป ซ้ำเติมปัญหาขาดแคลนอันมีต้นตอจากเหตุสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร
ไข้เลือดออกมรณะที่คร่าชีวิตผู้คนแล้วกว่า 6,800 ศพ ได้ก่อผลกระทบร้ายแรงต่อวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนในไลบีเรีย กินีและเซียร์ลีโอน โดย 2 ประเทศหลังถึงขั้นต้องสั่งห้ามเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติและโครงการอาหารโลก บอกว่าโรคติดต่อและผลลัพธ์จากข้อจำกัดต่างๆได้ก่อผลกระทบร้ายแรงต่อภาคอาหารและเกษตรกรรมในเหล่าชาติที่อีโบลาแพร่ระบาดหนักหน่วงที่สุด
"การสูญเสียผลผลิตและรายได้ครัวเรือน สืบเนื่องจากการเสียชีวิตหรือล้มป่วยที่สัมพันธ์กับอีโบลา รวมถึงไม่กล้าไปทำงานเพราะกลัวติดโรคระบาด คือปัจจัยที่กำลังฉุดให้เศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศชะลอตัว" สองหน่วยงานระบุในถ้อยแถลงร่วม
ถ้อยแถลงบอกด้วยว่าข้อจำกัดต่างๆนานาที่กำหนดออกมาเพื่อยับยั้งไวรัสมรณะ กลับกลายเป็นตัวฉุดรั้งประชาชนในการเข้าถึงอาหาร คุกคามวิถีชีวิตประจำวัน ก่อความยุ่งเหยิงแก่ตลาดอาหารและห่วงโซ่การแปรรูป ซ้ำเติมปัญหาขาดแคลนอันมีต้นตอจากเหตุสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร