พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวสุนทรพจน์ในการโอกาสเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ว่า ประเทศไทยตระหนักถึงหลักสิทธิประชาชน อันเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยทุกรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดให้มีระบบการทะเบียนราษฏร์ที่ถูกต้อง ทั่วถึง และสะดวกรวดเร็ว โดยประเทศไทยมี พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร์ ฉบับแรกในปี 2499 และได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2551
สำหรับ พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร์บัญญัติ เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลของประชากรผู้มีถิ่นฐานพำนักในอาศัยในดินแดนประเทศอย่างเป็นระบบ มีการตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นปัจจุบันและครอบคลุมประชาชกรทั่วประเทศ ซึ่งการมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ข้อมูลในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี สามารถสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของรัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวด้วยว่า ช่วงกลางปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการจัดการทะเบียนแรงงานเพื่อนบ้านที่หลบหนีเข้าเมืองพร้อมผู้ติดตามจำนวนกว่า 1.6 ล้านคน พร้อมจัดทำบัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทยให้กับทุกคน รวมถึงจัดหาระบบประกันสุขภาพให้กับทุกคน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน อาทิ การร่วมกับ UNICEF ในการขยายการจดทะเบียนการเกิดในประเทศไทยให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อเชื่อต่อข้อมูลกับระบบข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข และร่วมกับ UNFPA ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสถิติแห่งชาติกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับ พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร์บัญญัติ เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลของประชากรผู้มีถิ่นฐานพำนักในอาศัยในดินแดนประเทศอย่างเป็นระบบ มีการตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลดังกล่าว ให้เป็นปัจจุบันและครอบคลุมประชาชกรทั่วประเทศ ซึ่งการมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ข้อมูลในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี สามารถสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของรัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวด้วยว่า ช่วงกลางปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการจัดการทะเบียนแรงงานเพื่อนบ้านที่หลบหนีเข้าเมืองพร้อมผู้ติดตามจำนวนกว่า 1.6 ล้านคน พร้อมจัดทำบัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทยให้กับทุกคน รวมถึงจัดหาระบบประกันสุขภาพให้กับทุกคน
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน อาทิ การร่วมกับ UNICEF ในการขยายการจดทะเบียนการเกิดในประเทศไทยให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อเชื่อต่อข้อมูลกับระบบข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข และร่วมกับ UNFPA ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสถิติแห่งชาติกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ