นายพิริยะ ทองสอน เลขาธิการมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน กล่าวในเวทีเสวนาจับทางเล่ห์อุตสาหกรรมน้ำเมา ว่า พบการส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือนให้เห็นประโยชน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหยิบยกข้อความวิชาการบางส่วนและนำมาตัดต่อให้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งไม่ตรงกับหลักวิชาการ
น.พ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวว่า การใช้ข้อความรณรงค์ชวนเชื่อบิดเบือนข้อมูลเสมือนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติ พร้อมทั้งการให้ทุนกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (ซีเอสอาร์) ที่เข้าถึงกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนจดจำตราสัญลักษณ์ ซึ่งมีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 60 รวมทั้งเยาวชนจะมีทัศนคติเชิงบวกต่อการดื่มทำให้ดื่มหนักมากกว่าเด็กทั่วไปถึงร้อยละ 80
น.พ.ทักษพล กล่าวยอมรับว่า การควบคุมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อ้างประโยชน์ต่อสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์แสดงถึงช่องว่างทางกฎหมายที่ชี้ช่องให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รุกการตลาดอย่างหนัก จึงเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ เพื่อควบคุมการทำการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ๆ ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ พร้อมขอให้กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลเร่งรัดเรื่องประกาศภาพคำเตือนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องจัดทำภาพคำเตือนบนบรรจุภัณฑ์ โดยอ้างอิงจากสัดส่วนภาพคำเตือนต่อพื้นที่ผิว เช่นเดียวกับภาพคำเตือนบนซองบุหรี่
น.พ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) กล่าวว่า การใช้ข้อความรณรงค์ชวนเชื่อบิดเบือนข้อมูลเสมือนการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติ พร้อมทั้งการให้ทุนกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (ซีเอสอาร์) ที่เข้าถึงกลุ่มเยาวชน ทำให้เยาวชนจดจำตราสัญลักษณ์ ซึ่งมีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงร้อยละ 60 รวมทั้งเยาวชนจะมีทัศนคติเชิงบวกต่อการดื่มทำให้ดื่มหนักมากกว่าเด็กทั่วไปถึงร้อยละ 80
น.พ.ทักษพล กล่าวยอมรับว่า การควบคุมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อ้างประโยชน์ต่อสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์แสดงถึงช่องว่างทางกฎหมายที่ชี้ช่องให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รุกการตลาดอย่างหนัก จึงเรียกร้องให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ เพื่อควบคุมการทำการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ๆ ที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ พร้อมขอให้กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลเร่งรัดเรื่องประกาศภาพคำเตือนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องจัดทำภาพคำเตือนบนบรรจุภัณฑ์ โดยอ้างอิงจากสัดส่วนภาพคำเตือนต่อพื้นที่ผิว เช่นเดียวกับภาพคำเตือนบนซองบุหรี่