รายงานข่าวแจ้งว่า ในปี 2558 กทม.จะปรับปรุงเส้นทางจักรยานเพิ่มอีก 4 เส้นทางประกอบด้วย ถนนสาทร ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ถนนรอบอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และถนนลาดพร้าว รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร ซึ่งได้มอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการโดยเน้นเรื่องเส้นทางจักรยานเพื่อให้ผู้ใช้จักรยานขี่จักรยานในเส้นทางได้อย่างปลอดภัย
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงเส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อตรวจความเรียบร้อยและความปลอดภัยตลอดเส้นทางซึ่งเป็นเส้นทางจักรยานระยะที่ 1 ที่กทม.ได้ปรับปรุงด้านกายภาพ โดย ผู้ว่าฯกทม.ลงพื้นที่เริ่มต้นที่ลานคนเมือง ไปยังถ.ราชดำเนินกลางหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ถนนตะนาว ถนนกัลยาณไมตรี ถนนสนามไชย ถนนท้ายวัง ถนนมหาราช ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชินี ถนนพระอาทิตย์ และสิ้นสุดที่สวนสันติชัยปราการ เชื่อมกันรวม 12 เส้นทาง ระยะทาง 8 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าการปรับปรุงทั้งหมดจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค. และเปิดใช้เส้นทางอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี2558 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชนตามนโยบายรัฐบาลโดยจะมีการเชิญ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดงาน"โครงการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางจักรยานในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์"ช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่าเป็นการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงด้านกายภาพเพื่อให้เส้นทางจักรยานชัดเจนปลอดภัย สะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้ขี่จักรยานซึ่งการดำเนินการทั้งหมดมีความคืบหน้าพอสมควรอาทิ การเปลี่ยนฝาท่อไม่ให้ล้อจักรยานตกลงไปการขีดสีตีเส้นช่องทางจักรยาน โดยจะพยายามให้เเล้วเสร็จภายในปลายปีถ้าเป็นไปได้จะเร่งรัดให้เเล้วเสร็จในวันที่ 5 ธ.ค.นี้พื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน ซึ่งตอนนี้ตนคิดว่าอุปสรรคไม่ได้อยู่ที่ด้านกายภาพแต่อยู่ที่มีรถยนต์หรือจักรยานยนต์มาใช้หรือจอดทับเส้นทางจักรยานดังนั้นทุกหน่วยงานต้องร่วมกันดูแลเรื่องนี้โดยควบคุมการจอดรถยนต์ให้มีวินัยเพิ่มขึ้นและทุกหน่วยงานต้องไม่ทำแค่ครั้งเดียวแต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องซึ่ง กทม.จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย
ส่วนกรณีมีรถทัวร์มาจอดในพื้นที่โดยรอบพระบรมมหาราชวังจนเกิดปัญหาการจราจรติดขัดนั้นก่อนหน้านี้ กทม.ได้หารือร่วมกับบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.)ในการขอใช้พื้นที่สถานีขนส่งสายใต้เก่าเป็นจุดจอดพักรถทัวร์เพื่อรอรับนักท่องเที่ยวแต่ทาง บขส.เปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้พื้นที่ กทม.จึงจำเป็นต้องหาพื้นที่ใหม่ อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือผู้ประกอบการด้วยว่าในระหว่างนี้ขอให้หาจุดจอดรอรับนักท่องเที่ยวที่ไม่กีดขวางการจราจรและเส้นทางจักรยาน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการปรับปรุงเส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อตรวจความเรียบร้อยและความปลอดภัยตลอดเส้นทางซึ่งเป็นเส้นทางจักรยานระยะที่ 1 ที่กทม.ได้ปรับปรุงด้านกายภาพ โดย ผู้ว่าฯกทม.ลงพื้นที่เริ่มต้นที่ลานคนเมือง ไปยังถ.ราชดำเนินกลางหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ถนนตะนาว ถนนกัลยาณไมตรี ถนนสนามไชย ถนนท้ายวัง ถนนมหาราช ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชินี ถนนพระอาทิตย์ และสิ้นสุดที่สวนสันติชัยปราการ เชื่อมกันรวม 12 เส้นทาง ระยะทาง 8 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าการปรับปรุงทั้งหมดจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค. และเปิดใช้เส้นทางอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี2558 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชนตามนโยบายรัฐบาลโดยจะมีการเชิญ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดงาน"โครงการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางจักรยานในพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์"ช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์กล่าวว่าเป็นการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงด้านกายภาพเพื่อให้เส้นทางจักรยานชัดเจนปลอดภัย สะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้ขี่จักรยานซึ่งการดำเนินการทั้งหมดมีความคืบหน้าพอสมควรอาทิ การเปลี่ยนฝาท่อไม่ให้ล้อจักรยานตกลงไปการขีดสีตีเส้นช่องทางจักรยาน โดยจะพยายามให้เเล้วเสร็จภายในปลายปีถ้าเป็นไปได้จะเร่งรัดให้เเล้วเสร็จในวันที่ 5 ธ.ค.นี้พื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน ซึ่งตอนนี้ตนคิดว่าอุปสรรคไม่ได้อยู่ที่ด้านกายภาพแต่อยู่ที่มีรถยนต์หรือจักรยานยนต์มาใช้หรือจอดทับเส้นทางจักรยานดังนั้นทุกหน่วยงานต้องร่วมกันดูแลเรื่องนี้โดยควบคุมการจอดรถยนต์ให้มีวินัยเพิ่มขึ้นและทุกหน่วยงานต้องไม่ทำแค่ครั้งเดียวแต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องซึ่ง กทม.จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย
ส่วนกรณีมีรถทัวร์มาจอดในพื้นที่โดยรอบพระบรมมหาราชวังจนเกิดปัญหาการจราจรติดขัดนั้นก่อนหน้านี้ กทม.ได้หารือร่วมกับบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.)ในการขอใช้พื้นที่สถานีขนส่งสายใต้เก่าเป็นจุดจอดพักรถทัวร์เพื่อรอรับนักท่องเที่ยวแต่ทาง บขส.เปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้พื้นที่ กทม.จึงจำเป็นต้องหาพื้นที่ใหม่ อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือผู้ประกอบการด้วยว่าในระหว่างนี้ขอให้หาจุดจอดรอรับนักท่องเที่ยวที่ไม่กีดขวางการจราจรและเส้นทางจักรยาน