สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ว่า ผู้พิพากษาพอล เอนเกลเมเยอร์ แห่งศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ มีคำสั่งให้ริคส์คาบาเรต์ ผู้เป็นนายจ้าง จ่ายเงินชดเชยแก่นักเต้นทั้งที่เป็นลูกจ้างปัจจุบันและอดีตลูกจ้างกว่า 2,000 คน เป็นเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (328.5 ล้านบาท) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในคดีฟ้องละเมิดแบบกลุ่มที่ดำเนินมา 4 ปี โดยโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยโกงเงินค่าจ้างตั้งแต่ปี 2548 - 2555
เมื่อปีที่แล้ว ศาลมีคำตัดสินให้โจทก์ชนะคดี โดยพิจารณาว่าบรรดานักเต้นเป็นลูกจ้างรายชั่วโมงที่ควรได้รับค่าจ้างตามเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่จำเลยอ้างว่านักเต้นเหล่านี้เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้น และในกรณีของค่าจ้างสำหรับการเต้นแบบส่วนตัวซึ่งลูกค้าสามารถจ่ายเพิ่มพิเศษในราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐ (675 บาท) ศาลถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมการแสดงหรือทิปพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากค่าจ้างปกติ
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการโกงเงินค่าจ้างนักเต้นด้วยการขายบัตรกำนัลมูลค่า 24 ดอลลาร์สหรัฐ (788 บาท) ที่เรียกว่า 'แดนเซอร์สดอลลาร์' ซึ่งลูกค้าจะได้รับบริการพิเศษการเต้นแบบส่วนตัวที่ร้าน โดยนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการบริการ 4 ดอลลาร์สหรัฐ (131 บาท) แล้ว ทางร้านจะหักส่วนต่าง 2 ดอลลาร์สหรัฐ (65 บาท) จากบัตรกำนัลแต่ละใบ นักเต้นจึงได้รับเงินเพียง 18 ดอลลาร์สหรัฐ (591 บาท) โดยในคำสั่งศาลระบุว่า เงิน 2 ดอลลาร์สหรัฐควรเป็นของนักเต้นในฐานะเงินค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งจำเลยอ้างว่าหากนับรวมเงินค่าธรรมเนียมการแสดงแล้ว นักเต้นจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ศาลระบุโดยอ้างอิงจากกฎหมายแรงงานว่า ค่าธรรมเนียมพิเศษต่างๆ ไม่นับรวมว่าเป็นค่าจ้างปกติ
ทั้งนี้ คำสั่งศาลที่มีออกมาเมื่อวันศุกร์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตัดสินคดี จึงมีแนวโน้มว่าจำนวนเงินชดเชยอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดย น.ส.แอนนา พี ปรากาศ ทนายฝ่ายโจทก์กล่าวว่า คำตัดสินของศาลสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มนักเต้นก็ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเช่นเดียวกับลูกจ้างในวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งถือเป็นชัยชนะหนึ่งสำหรับกลุ่มคนที่ไม่ค่อยมีสิทธิ์มีเสียงเท่าใดนักในสังคม ขณะที่บริษัทอาร์ซีไอ ฮอสพิทัลลิตี โฮลดิงส์ เจ้าของกิจการริคส์คาบาเรต์ เผยว่า จะยังไม่มีการจ่ายเงินและเตรียมจะยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้ต่อไป
เมื่อปีที่แล้ว ศาลมีคำตัดสินให้โจทก์ชนะคดี โดยพิจารณาว่าบรรดานักเต้นเป็นลูกจ้างรายชั่วโมงที่ควรได้รับค่าจ้างตามเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่จำเลยอ้างว่านักเต้นเหล่านี้เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้น และในกรณีของค่าจ้างสำหรับการเต้นแบบส่วนตัวซึ่งลูกค้าสามารถจ่ายเพิ่มพิเศษในราคา 20 ดอลลาร์สหรัฐ (675 บาท) ศาลถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมการแสดงหรือทิปพิเศษที่อยู่นอกเหนือจากค่าจ้างปกติ
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการโกงเงินค่าจ้างนักเต้นด้วยการขายบัตรกำนัลมูลค่า 24 ดอลลาร์สหรัฐ (788 บาท) ที่เรียกว่า 'แดนเซอร์สดอลลาร์' ซึ่งลูกค้าจะได้รับบริการพิเศษการเต้นแบบส่วนตัวที่ร้าน โดยนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการบริการ 4 ดอลลาร์สหรัฐ (131 บาท) แล้ว ทางร้านจะหักส่วนต่าง 2 ดอลลาร์สหรัฐ (65 บาท) จากบัตรกำนัลแต่ละใบ นักเต้นจึงได้รับเงินเพียง 18 ดอลลาร์สหรัฐ (591 บาท) โดยในคำสั่งศาลระบุว่า เงิน 2 ดอลลาร์สหรัฐควรเป็นของนักเต้นในฐานะเงินค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งจำเลยอ้างว่าหากนับรวมเงินค่าธรรมเนียมการแสดงแล้ว นักเต้นจะได้รับค่าตอบแทนมากกว่าเกณฑ์ค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ศาลระบุโดยอ้างอิงจากกฎหมายแรงงานว่า ค่าธรรมเนียมพิเศษต่างๆ ไม่นับรวมว่าเป็นค่าจ้างปกติ
ทั้งนี้ คำสั่งศาลที่มีออกมาเมื่อวันศุกร์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตัดสินคดี จึงมีแนวโน้มว่าจำนวนเงินชดเชยอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดย น.ส.แอนนา พี ปรากาศ ทนายฝ่ายโจทก์กล่าวว่า คำตัดสินของศาลสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มนักเต้นก็ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเช่นเดียวกับลูกจ้างในวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งถือเป็นชัยชนะหนึ่งสำหรับกลุ่มคนที่ไม่ค่อยมีสิทธิ์มีเสียงเท่าใดนักในสังคม ขณะที่บริษัทอาร์ซีไอ ฮอสพิทัลลิตี โฮลดิงส์ เจ้าของกิจการริคส์คาบาเรต์ เผยว่า จะยังไม่มีการจ่ายเงินและเตรียมจะยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้ต่อไป