รายงานข่าวแจ้งว่า นายศวร เภรีวงษ์ หรือ ”เสือมเหศวร” จอมโจรชื่อดังระดับตำนานของเมืองไทย ซึ่งมีประวัติปล้นมาอย่างโชกโชน ได้เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคชรา ที่ รพ.หันคา จ.ชัยนาท เมื่อช่วงเช้าวานนี้ (15 พ.ย.) โดยขณะนี้ศพตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่บ้านเลขที่ 204 หมู่ 5 ต.ไพรนกยูง อ.หันคา จ. ชัยนาท จึงเดินทางไปตรวจสอบ โดย นายสันติสุข เภรีวงษ์ อายุ 49 ปี บุตรชายคนเล็ก เปิดเผยว่า นายศวร หรือ ”เสือมเหศวร” บิดา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2457 โดยเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา บิดาได้มีอาการเป็นลมหน้ามืด จึงนำตัวส่งไปรักษาที่ รพ.หันคา แต่เนื่องจากอายุที่มากแล้ว แประกอบกับมีโรคประจำตัว ทั้ง โรคหัวใจ และโรคไต ทำให้บิดาเสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอายุ 100 ปี
นายสันติสุข กล่าวอีกว่า บิดามีลูกด้วยกันทั้งหมด 10 คน เสียชีวิตไป 4 คน เหลือ 6 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 2 คน ในยุคนั้นมี เสือฝ้าย เสือดำ เสือใบ และอีกหลายคนเป็นเสือเหมือนๆกันกับบิดา แต่บิดาอยู่ซุ้มเสือฝ้าย จ.สุพรรณบุรี ซึ่งก่อนหน้าที่บิดาจะมาเป็นเสือออกปล้นคน เคยรับราชการเป็นทหาร ประจำการอยู่ที่ทหารอากาศดอนเมือง กระทั่งอายุได้ 20 กว่าๆหลังจากปลดประจำการ ก็ออกมาเป็นเสือปล้นตามหมู่บ้าน เมื่อปล้นได้เงินมาก็จะไปแบ่งให้คนจนใช้ จะไม่ฆ่าคนที่ไม่มีอาวุธ และไม่ขัดขืนหรือต่อสู้ ต่อมาได้ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และเสือคนละซุ้มตามฆ่า จนต้องหนีมาอยู่ในป่าเขาราวเทียนทอง ในท้องที่ ต.ไพรนกยูง อ.หันคา จ.ชัยนาท บิดาก็ได้เลิกเป็นเสือตั้งแต่บัดนั้นมา สำหรับศพของบิดาจะตั้งสวดพระอภิธรรมที่บ้าน เป็นเวลา 7 วัน และจะฌาปนกิจในวันที่ 22 พ.ย. นี้ ที่วัดไพรนกยูง หมู่ 5 ต.ไพรนกยูง อ.หันคา
ด้านประวัติของ "เสือมเหศวร" ตามเว็บไซต์สารานุกรม "วิกิพีเดีย" ระบุว่า เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลาง ร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือหวัด, เสือฝ้าย และเสือใบ แต่เดิมเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆที่ถูกอำนาจรัฐรังแก และถูกใส่ความว่าฆ่าพ่อตัวเอง จึงจับปืนขึ้นต่อสู้และกลายมาเป็นจอมโจรชื่อดังในที่สุด โดยได้ชื่อว่า "มเหศวร" จากการแขวนพระเครื่องมเหศวรไว้ที่คอ ซึ่งได้ชื่อว่าช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเมื่อเวลาออกปล้นจะปล้นด้วยความโหดเหี้ยม จนได้รับฉายาว่า จอมโจรมเหศวร เคยโดนตำรวจยิงที่ลำตัวและศีรษะหลายนัดแต่ไม่เข้า เสือมเหศวร ถูกปราบโดยขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งขุนพันธ์ฯ เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้เสือมเหศวรมอบตัว หลังจากได้รับโทษในเรือนจำแล้ว เสือมเหศวรก็ได้บวชเป็นพระและบวชเป็นพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน อาศัยอยู่ที่ จ.ชัยนาท เรื่องราวของ "เสือมเหศวร" เคยได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว 2 ครั้ง โดยผู้ที่รับบทเสือมเหศวรคนแรก คือ มิตร ชัยบัญชา ส่วนคนที่สองคือ สมบัติ เมทะนี และถูกนำไปดัดแปลงเป็นตัวละคร ในภาพยนตร์เรื่อง "ฟ้าทะลายโจร" ผู้รับบทเสือมเหศวร คือ "ต็อก-ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ"
นายสันติสุข กล่าวอีกว่า บิดามีลูกด้วยกันทั้งหมด 10 คน เสียชีวิตไป 4 คน เหลือ 6 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 2 คน ในยุคนั้นมี เสือฝ้าย เสือดำ เสือใบ และอีกหลายคนเป็นเสือเหมือนๆกันกับบิดา แต่บิดาอยู่ซุ้มเสือฝ้าย จ.สุพรรณบุรี ซึ่งก่อนหน้าที่บิดาจะมาเป็นเสือออกปล้นคน เคยรับราชการเป็นทหาร ประจำการอยู่ที่ทหารอากาศดอนเมือง กระทั่งอายุได้ 20 กว่าๆหลังจากปลดประจำการ ก็ออกมาเป็นเสือปล้นตามหมู่บ้าน เมื่อปล้นได้เงินมาก็จะไปแบ่งให้คนจนใช้ จะไม่ฆ่าคนที่ไม่มีอาวุธ และไม่ขัดขืนหรือต่อสู้ ต่อมาได้ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และเสือคนละซุ้มตามฆ่า จนต้องหนีมาอยู่ในป่าเขาราวเทียนทอง ในท้องที่ ต.ไพรนกยูง อ.หันคา จ.ชัยนาท บิดาก็ได้เลิกเป็นเสือตั้งแต่บัดนั้นมา สำหรับศพของบิดาจะตั้งสวดพระอภิธรรมที่บ้าน เป็นเวลา 7 วัน และจะฌาปนกิจในวันที่ 22 พ.ย. นี้ ที่วัดไพรนกยูง หมู่ 5 ต.ไพรนกยูง อ.หันคา
ด้านประวัติของ "เสือมเหศวร" ตามเว็บไซต์สารานุกรม "วิกิพีเดีย" ระบุว่า เป็นจอมโจรชื่อดังในแถบภาคกลาง ร่วมสมัยกับ เสือดำ, เสือหวัด, เสือฝ้าย และเสือใบ แต่เดิมเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆที่ถูกอำนาจรัฐรังแก และถูกใส่ความว่าฆ่าพ่อตัวเอง จึงจับปืนขึ้นต่อสู้และกลายมาเป็นจอมโจรชื่อดังในที่สุด โดยได้ชื่อว่า "มเหศวร" จากการแขวนพระเครื่องมเหศวรไว้ที่คอ ซึ่งได้ชื่อว่าช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเมื่อเวลาออกปล้นจะปล้นด้วยความโหดเหี้ยม จนได้รับฉายาว่า จอมโจรมเหศวร เคยโดนตำรวจยิงที่ลำตัวและศีรษะหลายนัดแต่ไม่เข้า เสือมเหศวร ถูกปราบโดยขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งขุนพันธ์ฯ เป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้เสือมเหศวรมอบตัว หลังจากได้รับโทษในเรือนจำแล้ว เสือมเหศวรก็ได้บวชเป็นพระและบวชเป็นพราหมณ์มาจนถึงปัจจุบัน อาศัยอยู่ที่ จ.ชัยนาท เรื่องราวของ "เสือมเหศวร" เคยได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว 2 ครั้ง โดยผู้ที่รับบทเสือมเหศวรคนแรก คือ มิตร ชัยบัญชา ส่วนคนที่สองคือ สมบัติ เมทะนี และถูกนำไปดัดแปลงเป็นตัวละคร ในภาพยนตร์เรื่อง "ฟ้าทะลายโจร" ผู้รับบทเสือมเหศวร คือ "ต็อก-ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ"