รัฐมนตรีกลาโหม เซียร์เกย์ ชอยกู ของรัสเซียแถลงในวันพุธ (12 พ.ย.) เตรียมส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล ออกลาดตระเวนเป็นประจำ จากมหาสมุทรอาร์กติกถึงทะเลแคริบเบียนยันอ่าวเม็กซิโก ซึ่งฝ่ายตะวันตกมองว่าเป็นการแสดงแสนยานุภาพแบบที่เคยเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น ในขณะที่ตอนนี้มอสโกกำลังบังเกิดความตึงเครียดอย่างรุนแรงกับฝ่ายตะวันตกสืบเนื่องจากกรณียูเครน
คำแถลงของชอยกูคราวนี้ ยังออกมาหลังจากที่ พล.อ.ฟิลิป บรีดเลิฟ นายทหารอเมริกันที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดขององค์การนาโตคนปัจจุบัน แถลงในวันพุธว่า ระยะ 2 วันที่ผ่านมา รัสเซียได้ลำเลียงอาวุธและกองกำลังเข้าสู่ยูเครนอีกระลอก ทว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธทันทีว่าไม่เป็นความจริง
ทั้งนี้รัสเซียอธิบายว่า ความตึงเครียดที่มีอยู่กับฝ่ายตะวันตกจากกรณียูเครน ทำให้รัสเซียต้องเสริมกำลังในแหลมไครเมีย ที่เพิ่งผนวกรวมกับรัสเซียในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ขณะที่คำแถลงของชอยกูแจกแจงว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลของรัสเซีย จะปฏิบัติภารกิจบินลาดตระเวนเป็นประจำ ตามแนวพรมแดนของรัสเซียเองและเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก และกล่าวต่อไปว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน มอสโกจำเป็นต้องคงการปรากฏตัวทางทหารเอาไว้ ทั้งในบริเวณด้านตะวันตกของแอตแลนติก ด้านตะวันออกของแปซิฟิก ตลอดจนถึงทะเลแคริบเบียน และอ่าวเม็กซิโก
ชอยกูเสริมด้วยว่า จากการเพิ่มความถี่และเพิ่มระยะเวลาในการบินลาดตระเวนเช่นนี้ ทำให้ต้องใช้ความพยายามในการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้น และได้มีการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว
ทั้งนี้ ในยุคสงครามเย็น เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ที่สามารถติดอาวุธนิวเคลียร์ได้ของรัสเซีย ได้เคยบินลาดตระเวนเหนือแอตแลนติกและแปซิฟิกอยู่เป็นประจำ แต่ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายและประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณจึงมีการตัดลดภารกิจนี้ลง อย่างไรก็ดี มีการรื้อฟื้นเที่ยวบินเช่นนี้ขึ้นอีกครั้งในยุคของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
คำแถลงของชอยกูคราวนี้ ยังออกมาหลังจากที่ พล.อ.ฟิลิป บรีดเลิฟ นายทหารอเมริกันที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดขององค์การนาโตคนปัจจุบัน แถลงในวันพุธว่า ระยะ 2 วันที่ผ่านมา รัสเซียได้ลำเลียงอาวุธและกองกำลังเข้าสู่ยูเครนอีกระลอก ทว่ากระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ออกมาปฏิเสธทันทีว่าไม่เป็นความจริง
ทั้งนี้รัสเซียอธิบายว่า ความตึงเครียดที่มีอยู่กับฝ่ายตะวันตกจากกรณียูเครน ทำให้รัสเซียต้องเสริมกำลังในแหลมไครเมีย ที่เพิ่งผนวกรวมกับรัสเซียในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ขณะที่คำแถลงของชอยกูแจกแจงว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกลของรัสเซีย จะปฏิบัติภารกิจบินลาดตระเวนเป็นประจำ ตามแนวพรมแดนของรัสเซียเองและเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก และกล่าวต่อไปว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน มอสโกจำเป็นต้องคงการปรากฏตัวทางทหารเอาไว้ ทั้งในบริเวณด้านตะวันตกของแอตแลนติก ด้านตะวันออกของแปซิฟิก ตลอดจนถึงทะเลแคริบเบียน และอ่าวเม็กซิโก
ชอยกูเสริมด้วยว่า จากการเพิ่มความถี่และเพิ่มระยะเวลาในการบินลาดตระเวนเช่นนี้ ทำให้ต้องใช้ความพยายามในการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้น และได้มีการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องไปถึงอุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว
ทั้งนี้ ในยุคสงครามเย็น เครื่องบินทิ้งระเบิดยุทธศาสตร์ที่สามารถติดอาวุธนิวเคลียร์ได้ของรัสเซีย ได้เคยบินลาดตระเวนเหนือแอตแลนติกและแปซิฟิกอยู่เป็นประจำ แต่ภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายและประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณจึงมีการตัดลดภารกิจนี้ลง อย่างไรก็ดี มีการรื้อฟื้นเที่ยวบินเช่นนี้ขึ้นอีกครั้งในยุคของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน