นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 4,000 ราย ในจำนวนดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยรวมอยู่ด้วย ทั้งที่มีการใส่อุปกรณ์ป้องกันอย่างดี ซึ่งจากการศึกษาข้อบกพร่องล่าสุด พบว่า ในพื้นที่แอฟริกาตะวันตกและพื้นที่ระบาด ส่วนใหญ่มีอากาศร้อน เมื่อใส่ถุงมือยางป้องกันเป็นเวลานาน ทำให้เหงื่อออก จนเนื้อตรงปลายเล็บอ่อน ง่ายต่อการแทรกซึมของเชื้อ
จากข้อมูลดังกล่าว กรมควบคุมโรคของไทยจึงเตรียมปรับมาตรการรักษาความปลอดภัยในคู่มือของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสอีโบลา รวมถึงเชื้อติดต่อร้ายแรงอื่นๆ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ โดยขณะนี้คณะกรรมการฝ่ายวิชาการการติดเชื้อในโรงพยาบาล กำลังหารือและทดสอบการป้องกันด้วยวิธีต่างๆ ทั้งการทากาว หรือวาสลีน เคลือบที่ปลายเล็บ เพื่อหาวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะกับสภาพแวดล้อมการทำงานของไทยมากที่สุด
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือความแตกต่างของสภาพอากาศในแอฟริกา กับไทย ดังนั้น จึงต้องหารือกันเรื่องมาตรการของโรคติดเชื้อทั้งหมด ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ปรึกษาด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค และสถาบันบำราศนราดูร
จากข้อมูลดังกล่าว กรมควบคุมโรคของไทยจึงเตรียมปรับมาตรการรักษาความปลอดภัยในคู่มือของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสอีโบลา รวมถึงเชื้อติดต่อร้ายแรงอื่นๆ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ โดยขณะนี้คณะกรรมการฝ่ายวิชาการการติดเชื้อในโรงพยาบาล กำลังหารือและทดสอบการป้องกันด้วยวิธีต่างๆ ทั้งการทากาว หรือวาสลีน เคลือบที่ปลายเล็บ เพื่อหาวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะกับสภาพแวดล้อมการทำงานของไทยมากที่สุด
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงคือความแตกต่างของสภาพอากาศในแอฟริกา กับไทย ดังนั้น จึงต้องหารือกันเรื่องมาตรการของโรคติดเชื้อทั้งหมด ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ปรึกษาด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค และสถาบันบำราศนราดูร