พยาบาลชาวสเปนซึ่งเป็นบุคคลแรกที่ติดเชื้ออีโบลานอกแอฟริกา ถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ขณะออกจากโรงพยาบาลในวันพุธ(5พ.ย.) หลังปลอดจากเชื้อไวรัสมรณะและได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ยอมรับไม่แน่ใจว่าการหายจากโรคร้ายนี้ของเธอเป็นผลจากวิธีการใดกันแน่
"ฉันอยากขอบคุณทุกคน แต่ฉันยังรู้สึกอ่อนเพลียมาก" เทเรซา โรมีโร วัย 44 ปี แถลงกับผู้สื่อข่าว ณ โรงพยาบาลการ์ลอสที่ 3 ในมาดริด หลังจากนอนพักรักษาตัวตลอดทั้งเดือนที่ผ่านมาและโดยส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในแผนกกักกันโรค
โรมีโร เปิดแถลงข่าวโดยมีคณะแแพทย์และนายฆาเบียร์ ลิมอน สามีห้อมล้อมอยู่โดยรอบ และระหว่างที่เธออ่านคำแถลงนั้น บ่อยครั้งที่พบเห็นน้ำตาคลอ "ตอนที่ฉันคิดว่าตัวเองกำลังจะตาย ฉันหวนนึกถึงความทรงจำต่างๆ นึกถึงครอบครัวและสามี ฉันถูกกักกันโรคและไม่ได้ติดต่อใครเลย ยกเว้นพูดคุยทางโทรศัทพ์กับฆาเบียร์"
พยาบาลรายนี้เป็นหนึ่งในคณะของโรงพยาบาลการ์ลอสที่ 3 ที่สมัครใจดูแลบาทหลวง 2 คนที่ติดเชื้ออีโบลาระหว่างปฏิบัติภารกิจในแอฟริกาและถูกส่งตัวกลับมารักษาที่สเปน ก่อนเสียชีวิตในเดือนสิงหาคมและกันยายนตามลำดับ ทั้งนี้เธอถูกตรวจพบติดเชื้ออีโบลา ในวันที่ 6 ตุลาคม นับเป็นบุคคลแรกที่ติดเชื้อไวรัสมรณะชนิดนี้นอกแอฟริกา ดินแดนที่โรคระบาดร้ายแรงนี้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วเกือบ 5,000 ศพ
"ฉันอยากขอบคุณทุกคน แต่ฉันยังรู้สึกอ่อนเพลียมาก" เทเรซา โรมีโร วัย 44 ปี แถลงกับผู้สื่อข่าว ณ โรงพยาบาลการ์ลอสที่ 3 ในมาดริด หลังจากนอนพักรักษาตัวตลอดทั้งเดือนที่ผ่านมาและโดยส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในแผนกกักกันโรค
โรมีโร เปิดแถลงข่าวโดยมีคณะแแพทย์และนายฆาเบียร์ ลิมอน สามีห้อมล้อมอยู่โดยรอบ และระหว่างที่เธออ่านคำแถลงนั้น บ่อยครั้งที่พบเห็นน้ำตาคลอ "ตอนที่ฉันคิดว่าตัวเองกำลังจะตาย ฉันหวนนึกถึงความทรงจำต่างๆ นึกถึงครอบครัวและสามี ฉันถูกกักกันโรคและไม่ได้ติดต่อใครเลย ยกเว้นพูดคุยทางโทรศัทพ์กับฆาเบียร์"
พยาบาลรายนี้เป็นหนึ่งในคณะของโรงพยาบาลการ์ลอสที่ 3 ที่สมัครใจดูแลบาทหลวง 2 คนที่ติดเชื้ออีโบลาระหว่างปฏิบัติภารกิจในแอฟริกาและถูกส่งตัวกลับมารักษาที่สเปน ก่อนเสียชีวิตในเดือนสิงหาคมและกันยายนตามลำดับ ทั้งนี้เธอถูกตรวจพบติดเชื้ออีโบลา ในวันที่ 6 ตุลาคม นับเป็นบุคคลแรกที่ติดเชื้อไวรัสมรณะชนิดนี้นอกแอฟริกา ดินแดนที่โรคระบาดร้ายแรงนี้คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วเกือบ 5,000 ศพ