นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงภายหลังจากที่เห็นรายชื่อของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 36 คน โดยวิเคราะห์ไว้ 5 แนวทาง ดังนี้ 1.มีความหลากหลายกว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 และฉบับปี 2550 เพราะมีที่มาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ จากหลายสาขาวิชาชีพที่สำคัญสัดส่วนผู้หญิงมีมากกว่าที่ผ่านมาๆ โดยในครั้งนี้มีผู้หญิง 6 คน 2.จากเดิมที่การเขียนรัฐธรรมนูญมักเป็นเรื่องของนักกฎหมายมหาชน และผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ ซึ่งบางครั้งพบจุดอ่อน เพราะโลกทัศน์อาจผูกอยู่กับหลักนิติศาสตร์มากเกินไป ทำให้รัฐธรรมนูญบางมาตราบังคับใช้ไม่ได้ และไม่สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริง 3.กรรมาธิการหลายคนเคยเป็นทั้งคนยกร่างรัฐธรรมนูญปี 40 และปี 50 มาแล้ว จะทำให้สามารถถอดบทเรียนจุดอ่อนและจุดแข็งของรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ เพื่ออุดช่องโหว่ และต่อยอดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ดี และสมบูรณ์กว่าเดิมได้
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า 4.ลดความกังวลเรื่องล็อกสเปกรัฐธรรมนูญ หรือการครอบงำจาก คสช. ได้พอสมควร เพราะกรรมาธิการหลายคนเป็นตัวของตัวเอง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ต้องถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และหวังว่าจะพิสูจน์ตัวเองกับสังคมได้ และ 5.อยากฝากข้อคิดถึงกรรมาธิการทั้ง 36 คนว่า อย่าคิดว่าตัวเป็นอรหันต์รู้ทุกเรื่อง ไม่ฟังใครแล้วเขียนรัฐธรรมนูญตามความอยากของตัวเอง แต่ต้องยืนอยู่บนการมีส่วนร่วม และอยู่บนฐานผลประโยชน์ของส่วนรวมจริงๆ
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า 4.ลดความกังวลเรื่องล็อกสเปกรัฐธรรมนูญ หรือการครอบงำจาก คสช. ได้พอสมควร เพราะกรรมาธิการหลายคนเป็นตัวของตัวเอง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ต้องถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก และหวังว่าจะพิสูจน์ตัวเองกับสังคมได้ และ 5.อยากฝากข้อคิดถึงกรรมาธิการทั้ง 36 คนว่า อย่าคิดว่าตัวเป็นอรหันต์รู้ทุกเรื่อง ไม่ฟังใครแล้วเขียนรัฐธรรมนูญตามความอยากของตัวเอง แต่ต้องยืนอยู่บนการมีส่วนร่วม และอยู่บนฐานผลประโยชน์ของส่วนรวมจริงๆ