การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. วันนี้ (28 ต.ค.) เริ่มเวลา 14.00 น. มีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ว่าที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ทำหน้าที่ประธานการประชุมชั่วคราว ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการวิสามัญสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) หรือ วิป สปช. (ชั่วคราว) ได้รายงานผลการประชุมวิป สปช.( ชั่วคราว) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของ สปช.จำนวน 20 คน ที่จะเปิดให้สมัครเข้ารับการสรรหาทั้งตัวบุคคล หรือด้านต่างๆ ทั้ง 11 ด้าน ภายในเวลา 12.00 น.วันพรุ่งนี้ (29ต.ค.)
จากนั้น ช่วงบ่ายวันเดียวกัน สมาชิก สปช.แต่ละคนจะลงมติเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน ซึ่งผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 20 ลำดับแรก จะได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากข้อเสนอดังกล่าวสมาชิก สปช.ได้อภิปรายกันอย่างหลากหลาย โดยมีทั้งสนับสนุนมติ วิป สปช.(ชั่วคราว) และมีการเสนอรูปแบบการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นตัวแทนจากสาขาต่างๆ และ 4 ภาค รวม 15 คน และให้เลือกอีก 5 คน จากที่ประชุมใหญ่ สปช. ทั้งนี้ หลังการอภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบตาม วิป สปช.(ชั่วคราว) เสนอหลักเกณฑ์การเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนน 165 ต่อ 47 เสียง
ด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่าที่รองประธาน สปช. เสนอว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องทำงานตลอด 7 วัน จึงเสนอว่าหากสมาชิกคนใดไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ควรเป็นกรรมาธิการด้านอื่นๆ ของ สปช. เพราะอาจมีเวลาไม่เพียงพอ และหากต้องการมีส่วนร่วมเสนอให้แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ โดยไม่นับเป็นองค์ประชุม
อย่างไรก็ตาม จากข้อเสนอดังกล่าว มีสมาชิก สปช.ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้น นายเทียนฉาย ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมชั่วคราว ได้ตัดบทและขอมติเรื่องกำหนดวันประชุม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ประชุม สปช.ทุกวันจันทร์และวันอังคาร แต่ยังไม่กำหนดเวลา พร้อมนัดประชุม สปช.เป็นพิเศษ ในวันพรุ่งนี้ เวลา 14.00 น. เพื่อเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของ สปช.ก่อนสั่งปิดประชุมในเวลา 16.20 น.
จากนั้น ช่วงบ่ายวันเดียวกัน สมาชิก สปช.แต่ละคนจะลงมติเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน ซึ่งผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุด 20 ลำดับแรก จะได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจากข้อเสนอดังกล่าวสมาชิก สปช.ได้อภิปรายกันอย่างหลากหลาย โดยมีทั้งสนับสนุนมติ วิป สปช.(ชั่วคราว) และมีการเสนอรูปแบบการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นตัวแทนจากสาขาต่างๆ และ 4 ภาค รวม 15 คน และให้เลือกอีก 5 คน จากที่ประชุมใหญ่ สปช. ทั้งนี้ หลังการอภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบตาม วิป สปช.(ชั่วคราว) เสนอหลักเกณฑ์การเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนน 165 ต่อ 47 เสียง
ด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ว่าที่รองประธาน สปช. เสนอว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องทำงานตลอด 7 วัน จึงเสนอว่าหากสมาชิกคนใดไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ควรเป็นกรรมาธิการด้านอื่นๆ ของ สปช. เพราะอาจมีเวลาไม่เพียงพอ และหากต้องการมีส่วนร่วมเสนอให้แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ โดยไม่นับเป็นองค์ประชุม
อย่างไรก็ตาม จากข้อเสนอดังกล่าว มีสมาชิก สปช.ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้น นายเทียนฉาย ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมชั่วคราว ได้ตัดบทและขอมติเรื่องกำหนดวันประชุม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ประชุม สปช.ทุกวันจันทร์และวันอังคาร แต่ยังไม่กำหนดเวลา พร้อมนัดประชุม สปช.เป็นพิเศษ ในวันพรุ่งนี้ เวลา 14.00 น. เพื่อเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของ สปช.ก่อนสั่งปิดประชุมในเวลา 16.20 น.