นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงแนวทางการปรับปรุงการทำงานของ กนอ.ว่า ขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 โดยจะแก้ใน 4 ข้อหลัก ได้แก่ 1.เพิ่มวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กนอ.ให้สามารถตั้งนิติบุคคล เพื่อให้ กนอ.ทำหน้าที่โฮลดิ้งลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้างและบริหารท่าเรือ โรงไฟฟ้า ผลิตน้ำประปา การบำบัดน้ำเสีย การสร้างโรงงานสำเร็จรูป เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในนิคมฯ
2.เพิ่มขอบข่ายการทำพาณิชยกรรม ซึ่งขณะนี้ก็มีเขตฟรีโซนรองรับการส่งออกแล้ว แต่กฎหมายยังไม่มีความชัดเจน เพื่อ รองรับการลงทุนสร้างนิคมฯ บริการ และนิคมฯ ลอจิสติกส์ เป็นต้น 3.พัฒนานิคมฯ คอนโดมิเนียม เพื่อเปิดให้ กนอ.สามารถทำนิคมฯ เชิงดิ่งได้ จากปัจจุบันที่กฎหมายกำหนดให้เพียงการทำนิคมฯเชิงราบ ที่เป็นการสร้างนิคมฯเป็นหลังๆ บนพื้นที่ ไม่สามารถ ทำเป็นตึกให้หลายโรงงานอยู่ในตึกเดียวกันได้ โดยนิคมฯคอนโดมิเนียมกำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะเกาหลีใต้ ที่สร้างคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่แล้วให้อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมครีเอทีฟ ดิจิตอลคอนเทนต์ และอุตสาหกรรมบริการ ที่ใช้พื้นที่ไม่มากมาใช้บริการ ซึ่งจะเป็น การประหยัดพื้นที่ และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากจะใช้ระบบสาธารณูปโภค ห้องแล็บ ห้องวิจัยร่วมกัน
4.เพิ่มอำนาจในการอนุญาตต่างๆ ให้เป็นวันสต็อปเซอร์วิสอย่างแท้จริง โดยปัจจุบัน กนอ.สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการออกใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ของหน่วยงานอื่นได้เพียง 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน และพ.ร.บ.ควบคุมโรงงาน ซึ่งไม่ครอบคลุมหน่วยงานที่จำเป็น ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ เช่น การขยายขอบข่ายการออกใบอนุญาตให้ครอบคลุมในเรื่องการออกใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ส่วนในปี 2558 จะเร่งตั้งนิคม ฯเฉพาะทาง ได้แก่ นิคมฯยาง หรือรับเบอร์ซิตี้ ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบเสร็จแล้ว จะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 และแล้วเสร็จภายในปี 2559 โดยในระหว่างก่อสร้างในช่วงกลางปี 2558 จะตั้งสำนักงานขายทันที เพื่อดึงลูกค้าให้เข้ามาตั้งโรงงานโดยเร็ว รวมทั้งจะเดินหน้านิคมฯ อากาศยาน และศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกับ กระทรวงคมนาคม คาดว่าจะศึกษาเสร็จ ในช่วงกลางปี 2558 และจะเดินหน้า นิคมฯ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดขยะอุตสาหกรรมครบวงจร
2.เพิ่มขอบข่ายการทำพาณิชยกรรม ซึ่งขณะนี้ก็มีเขตฟรีโซนรองรับการส่งออกแล้ว แต่กฎหมายยังไม่มีความชัดเจน เพื่อ รองรับการลงทุนสร้างนิคมฯ บริการ และนิคมฯ ลอจิสติกส์ เป็นต้น 3.พัฒนานิคมฯ คอนโดมิเนียม เพื่อเปิดให้ กนอ.สามารถทำนิคมฯ เชิงดิ่งได้ จากปัจจุบันที่กฎหมายกำหนดให้เพียงการทำนิคมฯเชิงราบ ที่เป็นการสร้างนิคมฯเป็นหลังๆ บนพื้นที่ ไม่สามารถ ทำเป็นตึกให้หลายโรงงานอยู่ในตึกเดียวกันได้ โดยนิคมฯคอนโดมิเนียมกำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะเกาหลีใต้ ที่สร้างคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่แล้วให้อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมครีเอทีฟ ดิจิตอลคอนเทนต์ และอุตสาหกรรมบริการ ที่ใช้พื้นที่ไม่มากมาใช้บริการ ซึ่งจะเป็น การประหยัดพื้นที่ และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากจะใช้ระบบสาธารณูปโภค ห้องแล็บ ห้องวิจัยร่วมกัน
4.เพิ่มอำนาจในการอนุญาตต่างๆ ให้เป็นวันสต็อปเซอร์วิสอย่างแท้จริง โดยปัจจุบัน กนอ.สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการออกใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ของหน่วยงานอื่นได้เพียง 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน และพ.ร.บ.ควบคุมโรงงาน ซึ่งไม่ครอบคลุมหน่วยงานที่จำเป็น ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ เช่น การขยายขอบข่ายการออกใบอนุญาตให้ครอบคลุมในเรื่องการออกใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ส่วนในปี 2558 จะเร่งตั้งนิคม ฯเฉพาะทาง ได้แก่ นิคมฯยาง หรือรับเบอร์ซิตี้ ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบเสร็จแล้ว จะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 และแล้วเสร็จภายในปี 2559 โดยในระหว่างก่อสร้างในช่วงกลางปี 2558 จะตั้งสำนักงานขายทันที เพื่อดึงลูกค้าให้เข้ามาตั้งโรงงานโดยเร็ว รวมทั้งจะเดินหน้านิคมฯ อากาศยาน และศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกับ กระทรวงคมนาคม คาดว่าจะศึกษาเสร็จ ในช่วงกลางปี 2558 และจะเดินหน้า นิคมฯ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดขยะอุตสาหกรรมครบวงจร