นายประยุทธ ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์ รักษาการเลขาธิการ คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุม ก.ส.ล. ที่มี พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ได้พิจารณาแต่งตั้งกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำหรับทำหน้าที่ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (เอเฟท) แทนกรรมการที่ครบวาระในส่วนที่เป็นอำนาจของ ก.ส.ล. แต่งตั้ง จำนวน 5 คน ได้แก่ ดร. ชัยพัฒน์ สหัสกุล, นางสาวสุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน, ดร. พรอนงค์ บุษราตระกูล, นายสุภาพ วงศ์เกียรติขจร และนายเสรี เด่นวรลักษณ์ โดยให้มีผลวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557
ทั้งนี้ กรรมการทั้ง 5 คน ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับ การซื้อขายล่วงหน้าทั้งในและต่างประเทศ จึงเชื่อว่าจะช่วยผลักดันให้เอเฟทมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดความน่าเชื่อถือต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักลงทุนที่จะให้ความสนใจมาลงทุนในเอเฟทมากขึ้น
พร้อมกันนี้ นายประยุทธยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ก.ส.ล. ยังได้เห็นชอบข้อเสนอการพัฒนาตลาด ข้าวไทยผ่านเอเฟทระยะสั้น โดยการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลผ่านเอเฟท พร้อมปรับปรุงวิธีการคำนวณราคายุติสุดท้าย และจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลการผลิตและการค้าข้าว นอกจากนี้ยังเตรียมปรับลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายและการส่งมอบสินค้าอีกด้วย
“การระบายข้าวผ่านเอเฟทอยู่ในแผนการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมการนโยบายบริหารข้าว (นบข.) จะพิจารณาปริมาณ ชนิดข้าว และกรอบเวลาในการระบายเมื่อไหร่ ซึ่งในการระบายข้าวผ่านเอเฟทช่วงก่อนหน้านี้ สามารถระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลได้ประมาณ 568,000 ตัน”
ทั้งนี้ กรรมการทั้ง 5 คน ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับ การซื้อขายล่วงหน้าทั้งในและต่างประเทศ จึงเชื่อว่าจะช่วยผลักดันให้เอเฟทมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดความน่าเชื่อถือต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักลงทุนที่จะให้ความสนใจมาลงทุนในเอเฟทมากขึ้น
พร้อมกันนี้ นายประยุทธยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ก.ส.ล. ยังได้เห็นชอบข้อเสนอการพัฒนาตลาด ข้าวไทยผ่านเอเฟทระยะสั้น โดยการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลผ่านเอเฟท พร้อมปรับปรุงวิธีการคำนวณราคายุติสุดท้าย และจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลการผลิตและการค้าข้าว นอกจากนี้ยังเตรียมปรับลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายและการส่งมอบสินค้าอีกด้วย
“การระบายข้าวผ่านเอเฟทอยู่ในแผนการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมการนโยบายบริหารข้าว (นบข.) จะพิจารณาปริมาณ ชนิดข้าว และกรอบเวลาในการระบายเมื่อไหร่ ซึ่งในการระบายข้าวผ่านเอเฟทช่วงก่อนหน้านี้ สามารถระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลได้ประมาณ 568,000 ตัน”