ที่ประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างข้อบังคับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติเลือก พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สปช.เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิก สปช.เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 1 นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิก สปช.เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่ 2 พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะมุกดาธนพงศ์ เป็นเลขานุการกรรมาธิการ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ และนางสีลาภรณ์ บัวสาย เป็นรองโฆษกคณะกรรมาธิการ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการร่างข้อบังคับการประชุมให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาภายใน 15 วัน โดยจะมีการประชุมในทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 09.30 น. และคาดว่าจะร่างข้อบังคับแล้วเสร็จในวันที่ 29 ตุลาคม จากนั้นในวันที่ 31 ตุลาคม อาจเชิญสมาชิก สปช.เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ข้อเสนอแนะการยกร่างข้อบังคับเพิ่มเติม หากไม่มีการแก้ไขก็จะสรุปรายงาน และเสนอต่อประธาน สปช.เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ ส่วนตัวอยากให้ที่ประชุมมีการตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภาในการพิจารณาวาระ 2, 3 เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาในคราวเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมด้วยว่าจะมีความเห็นอย่างไร แต่สิ่งที่กังวลคือภายหลังร่างข้อบังบังคับการประชุมผ่านความเห็นชอบ 3 วาระ ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ 15 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ 1 คณะ พร้อมกับคัดสรรสมาชิกและบุคคลมาทำหน้าที่ ซึ่งอาจใช้เวลามาก จึงอยากให้มีการกำหนดกรอบเวลาภายใน 30 วัน เพื่อให้เกิดการเดินหน้าแนวทางปฏิรูปได้มากที่สุด
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการร่างข้อบังคับการประชุมให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาภายใน 15 วัน โดยจะมีการประชุมในทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 09.30 น. และคาดว่าจะร่างข้อบังคับแล้วเสร็จในวันที่ 29 ตุลาคม จากนั้นในวันที่ 31 ตุลาคม อาจเชิญสมาชิก สปช.เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ข้อเสนอแนะการยกร่างข้อบังคับเพิ่มเติม หากไม่มีการแก้ไขก็จะสรุปรายงาน และเสนอต่อประธาน สปช.เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ ส่วนตัวอยากให้ที่ประชุมมีการตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภาในการพิจารณาวาระ 2, 3 เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาในคราวเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมด้วยว่าจะมีความเห็นอย่างไร แต่สิ่งที่กังวลคือภายหลังร่างข้อบังบังคับการประชุมผ่านความเห็นชอบ 3 วาระ ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ 15 คณะ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ 1 คณะ พร้อมกับคัดสรรสมาชิกและบุคคลมาทำหน้าที่ ซึ่งอาจใช้เวลามาก จึงอยากให้มีการกำหนดกรอบเวลาภายใน 30 วัน เพื่อให้เกิดการเดินหน้าแนวทางปฏิรูปได้มากที่สุด