นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้เตรียมเม็ดเงินกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อโอนให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ไร่ละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 15 ไร่ หรือ 15,000 บาทต่อครัวเรือน ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ต้องการช่วยลดต้นทุนในการทำนาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยล่าสุดมีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ประมาณ 2.8-2.9 ล้านราย จากจำนวนเกษตรกรทั้งหมด 2.5 ล้านครัวเรือน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ตรวจสอบสิทธิ์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ว่าเป็นเกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือ และไม่มีการสวมสิทธิ์หรือมีนายทุนเข้ามาแอบอ้าง เพื่อให้มาตรการดังกล่าวเป็นไปด้วยความโปร่งใส และในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค.) จะเริ่มโอนเงินช่วยเหลือให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั่วประเทศ กว่า 50,000 ราย จากนั้นจะทยอยโอนเงินช่วยเหลือจนครบจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร( ธ.ก.ส. )เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 ต.ค. นี้ ทาง ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินให้ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนขอรับความช่วยเหลือด้านต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15,000 บาทผ่านสาขาทั่วประเทศ โดยใช้ฐานข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งหากข้อมูลที่ชาวนามาแจ้งขอรับเงินตรงกันจะดำเนินการจ่ายให้ทันทีโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส. โดยตรง
สำหรับในวันแรกจะนำร่องจ่ายใน 6 จังหวัดที่มีความพร้อมในระบบการขึ้นทะเบียนก่อน ได้แก่ จ.พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ลพบุรี ขอนแก่น และศรีสะเกษ
ผู้ช่วยผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวถึงกรณีที่มีเกษตรกรที่แจ้งข้อมูลความเท็จหรือบุคคลที่ไม่ใช่ชาวนาแต่มาแอบอ้างสิทธิ์จะมีความผิดตามกฎหมายและ ธ.ก.ส. จะขึ้นบัญชีดำงดให้ความช่วยเหลือทุกด้าน
ทั้งนี้ หากพบบุคคลที่ไม่ใช่ชาวนา และมาแอบอ้างสิทธิ์ จะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 6 ปี
นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร( ธ.ก.ส. )เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 ต.ค. นี้ ทาง ธ.ก.ส. พร้อมจ่ายเงินให้ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนขอรับความช่วยเหลือด้านต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15,000 บาทผ่านสาขาทั่วประเทศ โดยใช้ฐานข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งหากข้อมูลที่ชาวนามาแจ้งขอรับเงินตรงกันจะดำเนินการจ่ายให้ทันทีโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส. โดยตรง
สำหรับในวันแรกจะนำร่องจ่ายใน 6 จังหวัดที่มีความพร้อมในระบบการขึ้นทะเบียนก่อน ได้แก่ จ.พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ลพบุรี ขอนแก่น และศรีสะเกษ
ผู้ช่วยผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวถึงกรณีที่มีเกษตรกรที่แจ้งข้อมูลความเท็จหรือบุคคลที่ไม่ใช่ชาวนาแต่มาแอบอ้างสิทธิ์จะมีความผิดตามกฎหมายและ ธ.ก.ส. จะขึ้นบัญชีดำงดให้ความช่วยเหลือทุกด้าน
ทั้งนี้ หากพบบุคคลที่ไม่ใช่ชาวนา และมาแอบอ้างสิทธิ์ จะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 6 ปี