สหรัฐฯยังไม่มีแผนห้ามนักเดินทางที่มาจากเหล่าชาติแอฟริกาตะวันตกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของอีโบลาเข้าประเทศ จากคำยืนยันของดอคเตอร์โธมัส ไฟรเดน ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอเมริกา (ซีดีซี) กล่าวเมื่อวันจันทร์(13ต.ค.) แต่ยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการทบทวนมาตรการควบคุมการติดต่อ ตามหลังมีพยาบาลติดเชื้อจากผู้ป่วยรายแรก พร้อมกันนั้นได้ขออภัยต่อกรณีที่ก่อนหน้านี้ออกมากล่าวโทษพยาบาลคนดังกล่าวว่านำพาตนเองไปสู่การติดเชื้อ
มาตรการคัดกรองขาเข้าได้เริ่มขึ้นแล้วที่ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ.เคนเนดี ในนิวยอร์ก เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะขยายสู่สนามบินอื่นๆอีก 4 แห่งในวันพฤหัสบดีนี้(16ต.ค.) ในนั้นรวมถึงท่าอากาศยานฮาร์ทสฟิลด์-แจ๊คสัน อินเตอร์เนชันแนล ในแอตแลนตา
การคัดกรองจะเป็นการประเมินดูว่าผู้โดยสารขาเข้ามีไข้หรือไม่ เนื่องจากมันเป็นอาการบ่งชี้แรกของผ้ติดเชื้ออีโบลา และกำหนดให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากไลบีเรีย เซียร์ราลีโอนและกินี ไม่ว่าจะเที่ยวบินโดยตรงหรือต่อเครื่อง ต้องตอบแบบสอบถามว่าพวกเขาเคยสัมผัสหรือติดต่อกับคนไข้อีโบลารายใดหรือไม่
อย่างไรก็ตามมีบางกรณีที่ผู้ติดเชื้ออีโบลายังไม่แสดงอาการ ทำให้เครื่องสแกนไข้ไม่สามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยติดเชื้อได้ แบบเดียวกับนายโธมัส เอริค ดันแคน ชาวไลบีเรียผู้ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้ออีโบลารายแรกในสหรัฐฯ ซึ่งก็ไม่ปรากฎอาการใดๆตอนที่เขาเดินทางถึงดัลลัสเมื่อเดือนที่แล้ว ก่อนล้มป่วยในอีกหลายวันต่อมาและเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ก่อน
ดอคเตอร์โธมัส ไฟรเดน ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอเมริกา ยอมรับว่าไม่มีทางที่จะทำให้ความเสี่ยงติดเชื้อในสหรัฐฯกลายเป็นศูนย์ จนกว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกให้ได้เสียก่อน
นอกจากนี้ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯรายนี้ ชี้ด้วยว่ากรณีพยาบาลดัลลัสคนหนึ่งติดเชื้ออีโบลาระหว่างดูแลนายโธมัส เอริค ดันแคน ในห้องกักกันโณคของโรงพยาบาลเทกซัส เฮลท์ เพรสไบทีเรียน แสดงให้เห็นว่าอเมริกาจำเป็นต้องทบทวนแนวทางควบคุมการติดต่อ ขณะที่ไวรัสมรณะชนิดนี้แผ่ลามออกมานอกแอฟริกาตะวันตกแล้ว
มาตรการคัดกรองขาเข้าได้เริ่มขึ้นแล้วที่ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ.เคนเนดี ในนิวยอร์ก เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และจะขยายสู่สนามบินอื่นๆอีก 4 แห่งในวันพฤหัสบดีนี้(16ต.ค.) ในนั้นรวมถึงท่าอากาศยานฮาร์ทสฟิลด์-แจ๊คสัน อินเตอร์เนชันแนล ในแอตแลนตา
การคัดกรองจะเป็นการประเมินดูว่าผู้โดยสารขาเข้ามีไข้หรือไม่ เนื่องจากมันเป็นอาการบ่งชี้แรกของผ้ติดเชื้ออีโบลา และกำหนดให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากไลบีเรีย เซียร์ราลีโอนและกินี ไม่ว่าจะเที่ยวบินโดยตรงหรือต่อเครื่อง ต้องตอบแบบสอบถามว่าพวกเขาเคยสัมผัสหรือติดต่อกับคนไข้อีโบลารายใดหรือไม่
อย่างไรก็ตามมีบางกรณีที่ผู้ติดเชื้ออีโบลายังไม่แสดงอาการ ทำให้เครื่องสแกนไข้ไม่สามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยติดเชื้อได้ แบบเดียวกับนายโธมัส เอริค ดันแคน ชาวไลบีเรียผู้ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้ออีโบลารายแรกในสหรัฐฯ ซึ่งก็ไม่ปรากฎอาการใดๆตอนที่เขาเดินทางถึงดัลลัสเมื่อเดือนที่แล้ว ก่อนล้มป่วยในอีกหลายวันต่อมาและเสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ก่อน
ดอคเตอร์โธมัส ไฟรเดน ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอเมริกา ยอมรับว่าไม่มีทางที่จะทำให้ความเสี่ยงติดเชื้อในสหรัฐฯกลายเป็นศูนย์ จนกว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกให้ได้เสียก่อน
นอกจากนี้ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯรายนี้ ชี้ด้วยว่ากรณีพยาบาลดัลลัสคนหนึ่งติดเชื้ออีโบลาระหว่างดูแลนายโธมัส เอริค ดันแคน ในห้องกักกันโณคของโรงพยาบาลเทกซัส เฮลท์ เพรสไบทีเรียน แสดงให้เห็นว่าอเมริกาจำเป็นต้องทบทวนแนวทางควบคุมการติดต่อ ขณะที่ไวรัสมรณะชนิดนี้แผ่ลามออกมานอกแอฟริกาตะวันตกแล้ว