ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกเมื่อวันจันทร์(13ต.ค.) เรียกร้องเหล่าประเทศเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของอีโบลา พร้อมเตือนว่าบางทีโลกทั้งใบอาจอยู่ในความเสี่ยง
ภูมิภาคดังกล่าวซึ่งมีประชากรอยู่กว่า 1,800 ล้านคน คือจุดอ่อนไหวต่อโรคติดต่อทั้งหลายแหล่ที่ปรากฏตัวขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นซาร์สและไข้หวัดนก แต่จนถึงตอนนี้ยังคงปลอดจากไวรัสอีโบลา ที่กำลังอาละวาดคร่าชีวิตผู้คนในแอฟริกาตะวันตก
"การแพร่ระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความอ่อนแอของโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขเอื้อต่อการแพร่ระบาดของจุลชีพก่อโรคที่มีอันตรายที่สุดชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้ " ชาน บอกกับที่ประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเวสเทิร์นแปซิฟิก
"ระบบเหล่านี้ไม่อาจสร้างได้ระหว่างวิกฤตและยิ่งกว่านั้นมันจะพังทลายลง ระบบสาธารณสุขที่ไม่สมบูรณ์ นั่นหมายความว่าการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของประชากรก็จะเป็นศูนย์ "เมื่อไวรัสมรณะที่น่ากลัวโจมตีความอัตคัดเหล่านี้และกระจายจนควบคุมไม่อยู่ ทั่วทั้งโลกก็ตกอยู่ในความเสี่ยง" ผู้อำนวยการอนามัยโลกกล่าวผ่านสุนทรพจน์ที่อ่านต่อที่ประชุม
ภูมิภาคดังกล่าวซึ่งมีประชากรอยู่กว่า 1,800 ล้านคน คือจุดอ่อนไหวต่อโรคติดต่อทั้งหลายแหล่ที่ปรากฏตัวขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นซาร์สและไข้หวัดนก แต่จนถึงตอนนี้ยังคงปลอดจากไวรัสอีโบลา ที่กำลังอาละวาดคร่าชีวิตผู้คนในแอฟริกาตะวันตก
"การแพร่ระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความอ่อนแอของโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขเอื้อต่อการแพร่ระบาดของจุลชีพก่อโรคที่มีอันตรายที่สุดชนิดหนึ่งบนโลกใบนี้ " ชาน บอกกับที่ประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเวสเทิร์นแปซิฟิก
"ระบบเหล่านี้ไม่อาจสร้างได้ระหว่างวิกฤตและยิ่งกว่านั้นมันจะพังทลายลง ระบบสาธารณสุขที่ไม่สมบูรณ์ นั่นหมายความว่าการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของประชากรก็จะเป็นศูนย์ "เมื่อไวรัสมรณะที่น่ากลัวโจมตีความอัตคัดเหล่านี้และกระจายจนควบคุมไม่อยู่ ทั่วทั้งโลกก็ตกอยู่ในความเสี่ยง" ผู้อำนวยการอนามัยโลกกล่าวผ่านสุนทรพจน์ที่อ่านต่อที่ประชุม