พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายแนวทางปฏิบัติราชการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้กับผู้บริหารระดับสูง โดยมีการวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เป็นครั้งแรกไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยกล่าวว่า ปริมาณน้ำในปี 58 ค่อนข้างน้อย กรมชลประทานจะประกาศให้ทราบทั่วกันเร็วๆ นี้ ว่าคงไม่สามารถจะส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างแน่นอน ทำได้เพียงอุปโภคบริโภคเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องข้าวนั้นจะมีปัญหาเฉพาะข้าวที่มีคุณภาพต่ำ เช่น ข้าวนาปรัง ข้าว 3 เดือน หรือ ข้าว 100 วัน ที่ปลูกไว้เพื่อจำนำซึ่งสร้างนิสัยที่ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับความต้องการจริงๆ เพราะข้าวพวกนี้ขายได้แต่ในแอฟริกาใต้ แต่ก็เกิดปัญหาคือไม่สามารถขนไปได้อีก ตอนนี้รัฐบาลก็ต้องแก้ไข ต้องมาดูกันว่าตรงไหนปลูกได้แค่ไหน เพราะถ้าปลูกเกินปัญหาราคาก็จะเกิดขึ้นอีก
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนประเทศไทยมีปัญหาเรื่องน้ำอย่างแน่นอน บริหารจัดการไม่ได้ ดังนั้นถ้าคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเข้ามาในพื้นที่ก็อยากให้นักปกครองท้องถิ่นช่วยกัน เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำให้ได้ รวมถึงการชี้แจงกับประชาชนด้วยว่า การเพาะปลูกนอกฤดูฝน การปลูกข้าวนาปรัง คงทำไม่ได้ ส่วนการให้เงินช่วยเหลือชาวนานั้น ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัดลงมาถึงนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกราย ต้องรับผิดชอบ หากเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ไปไม่ถึงมือของชาวนาจริงๆ
อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องข้าวนั้นจะมีปัญหาเฉพาะข้าวที่มีคุณภาพต่ำ เช่น ข้าวนาปรัง ข้าว 3 เดือน หรือ ข้าว 100 วัน ที่ปลูกไว้เพื่อจำนำซึ่งสร้างนิสัยที่ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับความต้องการจริงๆ เพราะข้าวพวกนี้ขายได้แต่ในแอฟริกาใต้ แต่ก็เกิดปัญหาคือไม่สามารถขนไปได้อีก ตอนนี้รัฐบาลก็ต้องแก้ไข ต้องมาดูกันว่าตรงไหนปลูกได้แค่ไหน เพราะถ้าปลูกเกินปัญหาราคาก็จะเกิดขึ้นอีก
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นเป็นที่ชัดเจนประเทศไทยมีปัญหาเรื่องน้ำอย่างแน่นอน บริหารจัดการไม่ได้ ดังนั้นถ้าคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำเข้ามาในพื้นที่ก็อยากให้นักปกครองท้องถิ่นช่วยกัน เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำให้ได้ รวมถึงการชี้แจงกับประชาชนด้วยว่า การเพาะปลูกนอกฤดูฝน การปลูกข้าวนาปรัง คงทำไม่ได้ ส่วนการให้เงินช่วยเหลือชาวนานั้น ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัดลงมาถึงนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกราย ต้องรับผิดชอบ หากเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ไปไม่ถึงมือของชาวนาจริงๆ